เพื่อชีวิต..ใคร???

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 27, 2548

มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน

ก็ห่างหายไปนานไม่ได้มาอัพเดท มัวแต่ยุ่งๆ แก้ตัวรึเป่ลา :-)
วันนี้อ่าน เจอบทความเรื่อง มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน เขียนโดย สิริอัญญา, ข้างประชาราษฎร์
เป็นบทความ 71 ตอน เข้าไปแล้วนิ....น่าสนใจ
เพิ่งมาเจอ เหอ เหอ....แบบว่า อ่านบ่อย นิ....
**************************************************************************************
มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (71) (ภาคสาม : อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์)
โดย สิริอัญญา 27 ตุลาคม 2548 17:56 น.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
การฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในหรือวิมุตตะมิ ติโดยหนทางเจโตวิมุตตินั้นมีผลหรือมีอานิสงส์ที่เป็นธรรมดาธรรมชาติของการฝึ กฝนอบรมในหนทางสายนี้ คือ อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ผลโดยตรงตามธรรมดาธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้และต่างจากการฝึกฝนอบรมแบบปัญญาวิม ุตติก็เพราะว่าได้ตั้งอยู่บนฐานกำลังอำนาจของจิต

กำลังอำนาจของจิตที่ได้รับการอบรมจนแกร่งกล้าขึ้นทำให้นามกายแปรเปลี ่ยนเป็นทิพยกาย มีอินทรีย์และพละแก่กล้าขึ้น ทั้งมีรากฐานมาจากกัมมัฏฐานวิธีที่เกื้อกูลต่อการเกิด การกระทำ และการใช้อิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ด้วย

ส่วนการฝึกฝนอบรมโดยหนทางปัญญาวิมุตตินั้นแม้จะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ แต่กำลังอำนาจของจิต อินทรีย์และพละก็ได้พัฒนายกระดับตามไปด้วย เป็นแต่ว่าไม่มีจุดเด่นหรือไม่เด่นชัดเหมือนกับการฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิม ุตติ ทั้งการเดินหนทางปัญญาวิมุตติ ปัญญาจะแก่กล้าจึงก้าวข้ามพ้นจากการเห็นความสำคัญของอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ ดังนั้นผู้ที่เดินหนทางสายนี้จึงมักที่จะไม่นิยมในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์

แต่ใช่ว่าอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ จะไม่เกิดขึ้น หรือกระทำไม่ได้ นั่นคือสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ เป็นแต่ไม่อยากทำ ไม่สนใจที่จะทำ หรือฝึกฝนยกระดับพัฒนาความสามารถในทางนี้

ดังตัวอย่างในระยะใกล้คือท่านเจ้าคุณพุทธทาสซึ่งแม้ว่าท่านจะเดินหนท างปัญญาวิมุตติ แต่ก็ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณสามารถกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ได้ในบางระดับ เช่นการทดลองกระทำฤทธิ์ครั้งหนึ่งที่ทำให้ปลามาอยู่ในมือที่ชูขึ้นในอากาศ ซึ่งท่านเจ้าคุณเห็นว่าได้สัมผัสกับฤทธิ์แบบกระจุ๋มกระจิ๋มแล้วแต่เห็นว่าไม ่เป็นประโยชน์ จึงตั้งจิตว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกต่อไป เหตุนี้หลังจากท่านเจ้าคุณเริ่มเปิดการอบรมสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์เป็นล่ำเป็น สันแล้วจึงไม่เคยปรากฏคุณสมบัติในเรื่องนี้

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเดินหนทางปัญญาวิมุตติเช่นเดียวกัน แต่ก็มีหลายครั้งที่ทรงกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ เช่นการกระทำโทรจิตนิมนต์พระอริยสงฆ์ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอา ราธนา หรือการเจริญอิทธิบาทเพื่อให้คลายจากอาการพระประชวรตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2547 เป็นต้น

สำหรับหลวงตาพระมหาบัวนั้นได้เดินในหนทางเจโตวิมุตติเช่นเดียวกับพระ ป่าในสายพระอาจารย์มั่น จึงสามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้ตามธรรมดาธรรมชาติของผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติในหนทา งเจโตวิมุตตินี้ ในห้วงเวลาอันเป็นปัจจุบันนี้ก็ปรากฏว่าเคยกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์ ถึงสองครั้ง คือการกระทำอิทธิฤทธิ์แปลงมวลสารโมเลกุลในเลือดเพื่อรักษาโรคร้ายของบุคคลสำ คัญจนรอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างมหัศจรรย์ และการกระทำอิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือชีวิตบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งให้รอดพ้นจากเหตุก ารณ์ระเบิดเครื่องบิน

ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏว่ามีพระมหาเถระหลายรูปที่เดินหนทางเจโต วิมุตติและสำเร็จอภิญญาชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า ผู้เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือแม้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ดังที่ปรากฏคำประกาศพระคุณว่า “เจ้าพระคุณฯ ผู้ทรงบำเพ็ญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ สำเร็จพรหมวิหารชั้นสูง เป็นเอกพระมหาเถราจารย์ ทรงพระอิทธิปาฏิหาริย์อันศักดิ์สิทธิ์ …” เป็นต้น

การฝึกฝนอบรมโดยหนทางเจโตวิมุตติจะทำใ ห้ได้รับผลหรือบรรลุถึงวิชชาแปดประการ หรือได้รับสมาบัติ หรือฌานสมาบัติแปดประการ คือ

ประการแรก อิทธิวิธิญาณ หรืออิทธิ ฤทธิ์ คือความรู้หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กระทำให้เกิดความสำเร็จหรือความมหัศจรรย ์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดา

ประการที่สอง ทิพยโสตญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หูเป็นทิพย์

ประการที่สาม เจโตปริยญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการรู้ความคิดจิตใจของผู้อื่น

ประการที่สี่ ทิพยจักษุญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้ตาเป็นทิพย์

ประการที่ห้า มโนมยิทธิญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการกระทำความมหัศจรรย์ให้สำเร็จได้ด้วยใจ

ประการที่หก บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้อดีตชาติหรือชาติก่อน ๆ ได้

ประการที่เจ็ด จุตูปปาตถญาณ คือความรู้หรืออำนาจในการหยั่งรู้การเกิด ดับ ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

ประการที่แปด อาสวัคขยญาณ คือความรู้หรืออำนาจที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งหล

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
ในแปดประการนี้ที่เป็นวิชชาในระดับโลกิยะ คือในระดับที่ยังไม่ดับทุกข์สิ้นเชิง หรือยังไม่เหนือพ้นไปจากโลกเจ็ดประการ คือประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ด และอยู่ในระดับที่เหนือพ้นไปจากโลกหรือระดับโลกุตระคือในระดับขั้นที่ดับทุก ข์สิ้นเชิงแล้วคือประการที่แปด

สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ ระดับของญาณที่เข้าถึงจึงเป็นระดับของโลกียะ แต่เมื่อเข้าถึงอาสวักขยญาณแล้วนอกจากระดับของญาณจะเป็นระดับโลกุตระในประกา รที่แปดแล้ว ยังยกระดับวิชชาหรือความรู้หรืออำนาจตั้งแต่ประการที่หนึ่งถึงประการที่เจ็ด ให้เป็นญาณในระดับโลกุตระด้วย

ญาณในระดับโลกียะนั้นหากยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระตราบใดย่อมอยู่ใน วิสัยที่จะเสื่อมถอยได้ ดังที่ปรากฏอยู่เสมอ ๆ ว่าผู้ที่มีคุณวิเศษบางคนนั้น ในห้วงเวลาหนึ่งสามารถแสดงคุณวิเศษได้จริง แต่เมื่อถูกลาภสักการะหรือกิเลสครอบงำมากขึ้นอำนาจหรือคุณวิเศษนั้นก็เสื่อม ถอยจนกลายเป็นคนลวงโลกในที่สุด

แต่ถ้าเป็นญาณที่ยกระดับถึงขั้นโลกุตระแล้วก็เป็นอันตัดขาดจากกระแสโ ลกและสังสารวัฏเด็ดขาดสิ้นเชิง เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นกลับไม่เกิดขึ้นได้อีก ดังที่พระตถาคตเจ้ามักตรัสว่าเป็นดั่งตาลยอดด้วน ดังนั้นญาณทั้งหลายจึงดำรงคงอยู่เป็นนิรันดร์ ไม่หวนคืนกลับหรือเสื่อมถอยได้อีก

คำตรัสสอนในเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่ว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารค ือการปรุงแต่งนั้น อวิชชาที่ว่านี้ก็คือภาวะที่ตรงกันข้ามกับวิชชา ไม่ใช่ความไม่รู้ซึ่งถูกเพียงส่วนน้อยเท่านั้น และหากจะแปลอวิชชาว่าเป็นความไม่รู้ก็จะทำให้ไม่รู้เรื่อยไป แต่ถ้าแปลอวิชชาว่าเป็นภาวะที่อยู่ตรงกันข้ามกับวิชชาแล้วก็จะทำให้เกิดความ รู้ ความสว่าง และสามารถรับรู้ความจริงอันประเสริฐได้

วิชชาที่ตัดสังสารวัฏในปฏิจจสมุ ปบาทนั้นก็คือวิชชาแปดประการที่ว่านี้ในระดับที่เป็นโลกุตระโดยเฉพาะคืออาสว ักขยญาณนั่นเอง
วิชชาเจ็ดประการที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณ แม้จะยังไม่ถึงขั้นโลกุตระก็จริงแต่ก็ทำให้ก้าวพ้นจากความเป็นเปรต ผี อมนุษย์ มนุษย์ ถึงซึ่งความเป็นเทพ พรหม และพระอริยะ แต่ถ้าเมื่อใดที่บรรลุถึงอาสวัคขยญาณเป็นวิชชาที่แปดแล้วก็จะถึงซึ่งความเป็ นพระอรหันต์ ดังนั้นอาสวักขยญาณจึงเป็นวิชชาเอกในการตัดสังสารวัฏถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้ นเชิง

ทั้งยังส่งผลให้วิชชาเจ็ดประการข้างต้นหรือญาณเจ็ดประการข้างต้นสามา รถเปล่งอานุภาพในระดับที่สูงขึ้นกว่าขั้นที่ยังไม่บรรลุถึงระดับโลกุตระ

เพราะเหตุที่บรรลุถึงหรือทรงไว้หรือมีวิชชาแปดประการนั้นแล้ว จึงมีขีดความสามารถที่จะกระทำสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์หรือที่ เรียกว่าปาฏิหาริย์ได้ และสามารถกระทำได้ในระดับสูงสุด ส่วนการบรรลุถึงวิชชาเจ็ดประการโดยที่ยังไม่บรรลุถึงอาสวักขยญาณนั้น แม้มีขีดความสามารถที่จะกระทำปาฏิหาริย์ได้ทำนองเดียวกัน แต่ขีดความสามารถนั้นก็อาจเสื่อมถอยได้ดังที่ได้พรรณนามาแล้ว ความต่างกันจึงอยู่ที่ความเสื่อมถอยอย่างหนึ่ง และระดับของการกระทำปาฏิหาริย์อีกอย่างหนึ่ง

สิ่งที่เรียกว่าปาฏิหาริย์หรือความมหัศจรรย์ล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดานั้นมีสามประการคือ

ประการแรก ได้แก่อิทธิปาฏิหาริย์ ได้แก่การกระทำความมหัศจรรย์โลดโผนต่าง ๆ ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ เช่น คนเดียวทำเป็นหลายคน หลายคนทำเป็นคนเดียว หายตัวไป เหาะเหินเดินอากาศ เดินฝ่ากำแพงภูเขาได้ เดินไปบนน้ำได้ ดำดินได้ ลุยไฟได้ เป็นต้น

ประการที่สอง ได้แก่อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือการทายใจหรือการกำหนดรู้ใจผู้อื่นแล้วกระทำการที่ตรงกับใจเป็นที่อัศจรรย ์ ทำให้เกิดความสว่างกระจ่างแจ้ง ตรงกับปัญหาค้างคาอยู่ในใจนั้น

ประการที่สาม ได้แก่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสอนเป็นที่อัศจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยอรรถะ พยัญชนะ งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้รับผลของความรู้นั้นอย่างรวดเร็ว ดังที่ปรากฏคำสรรเสริญพระตถาคตเจ้าจากบรรดาผู้ฟังธรรมมากหลายในพระไตรปิฎกว่ า “แจ่มแจ้งดังเปิดของคว่ำให้หงายขึ้น”

ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้งสามประการนี้ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์เพราะเป็นความมหัศจรรย์ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเวไนยสัตว์ โต้แย้งไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ต่างกับปาฏิหาริย์สองประเภทแรกซึ่งผู้ที่ไม่เห็นด้วยตาหรือผู้ที่ไม่เชื่ออา จตำหนิติเตียนได้ และทำให้เกิดข้อโต้เถียงวิวาทได้

เพราะในอินเดียเวลานั้นมีวิชาพิสดารอยู่สองวิชา วิชาหนึ่งเป็นของชาวคันธาระ มีชื่อว่าคันธารวิชา และวิชาของชาวมณีปุระที่เรียกว่ามณีวิชา เป็นวิชาที่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์บางประการได้ สามารถทายดักใจได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้โยคีในอินเดียก็ยังใช้วิชาเช่นนี้อยู่ บางคนเข้ามาในประเทศไทยแล้วใช้วิชาดักทายใจให้ปรากฏมาแล้วมากมาย

พระธรรมโกษาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)
วิชาดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งหรือเพื่อความดับทุกข์ เป็นวิชาเพื่อแสวงหาลาภสักการะที่ทำให้เกิดความละโมบโลภมากกระทั่งกลายเป็นเ รื่องลวงโลก ดังนั้นพระตถาคตเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญเฉพาะอนุสาสนีปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นประโ ยชน์จริง เป็นประโยชน์แท้แก่เวไนยสัตว์

เพื่อป้องกันการแปรผันจนกลายเป็นการลวงโลกและการถกเถียงโต้แย้ง พระตถาคตเจ้าจึงตรัสห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ในล ักษณะที่เป็นการโอ้อวด และถ้าไม่มีคุณสมบัตินี้ในตนแล้วอวดอ้าง หากเป็นพระภิกษุก็ทรงบัญญัติโทษสถานหนัก ถึงขั้นพ้นจากความเป็นภิกษุคือเป็นความผิดขั้นปาราชิก

แต่ทว่าที่ทรงตรัสห้ามนั้นไม่ได้ทรงตัดผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดาธรรมชา ติ ไม่ได้ทรงห้ามกระทำในคราวหรือโอกาสอันจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการพระศาสนา ดังที่ทรงตรัสสั่งให้พระสาวกกระทำอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้งหลายหน แม้พระองค์เองก็ทรงกระทำเช่นเดียวกัน เป็นแต่ทรงเลือกกาล เลือกสถานที่อันสมควรที่เหมาะสมและจำเป็น

แต่คนในชั้นหลังห่างเหินออกไปจากการฝึกฝนอบรมจิต ไม่สามารถได้รับคุณวิเศษและกระทำคุณวิเศษดังกล่าวได้ กลับใช้เป็นข้ออ้างว่าทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้เพราะพระตถาคตเจ้าทรงห้ามซึ่ง คลาดเคลื่อนไปจากพุทธประสงค์โดยแท้

อิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์เป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิตแ ละเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความศรัทธาเพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่พระศาสนา ทั้งเป็นประจักษ์พยานแห่งความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ตลอดจนวิชชาแปดประการที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ทรงแสดงไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เวไนยสัต ว์ให้มากที่สุด เพราะวิชชาทั้งแปดประการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ตน เพื่อประโยชน์ท่านโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพ่รพระศาสนาให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่มวลชนด้วย

ในภาคสามแห่งมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนี้มุ่งเน้นพรรณนาเฉพาะอิทธิปาฏิห าริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ โดยจะไม่ก้าวล่วงถึงอานุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ในการสั่งสอนเผยแผ่พระธรรมคำสอนหรือความจริงอันประเสร ิฐซึ่งเป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่ง และสำหรับผู้สนใจในเรื่องนี้ก็สามารถฝึกฝนและใช้ได้ตามแนวทางที่ทรงแสดงไว้ใ นส่วนที่ว่าด้วยเรื่องวิธีการสอนของพระตถาคตเจ้านั้น

อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือม นุษย์โดยอาศัยวิชชาห้าประการในแปดประการคือ อิทธิวิธี มโนมยิทธิ เจโตปริยญาณ ทิพยโสต และทิพยจักษุ ซึ่งจักได้พรรณนาต่อไปโดยลำดับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก