‘ดนตรีบำบัด’ ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
“ดนตรีบำบัด” (Music Therapy) คืออีกศาสตร์ที่กำลังมาแรง และเริ่มจะเป็นที่รู้จักกันในแวดวงด้านการแพทย์และด้านการศึกษาที่เป็นการนำ ดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ตลอดจนผู้มีปัญหาความบกพร่องทางร่างกายที่เกี่ยวกับระบบประสาทการรับรู้และก ารเคลื่อนไหว โดยมีจุดหมายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพนันทนาการและทางการศึกษา แต่ “ดนตรีบำบัด” ยังเป็นศาสตร์ค่อนข้างใหม่ และในประเทศไทยยังใช้ดนตรีมาบำบัดในวงจำกัดอยู่ เพราะเราขาดนักดนตรีบำบัดที่ได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ ซึ่งก็จะต่างไปจากนักดนตรีและครูสอนดนตรีทั่วไป โดยดนตรีบำบัดที่นำมาใช้ในการศึกษาจะมีเป้าหมาย เพื่อการซ่อมเสริม ส่วนดนตรีศึกษาจะเน้นสอนให้คนมีความรู้ ทักษะสุนทรียภาพทางดนตรีและเป็นการให้ประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์กับทุกคน
วันนี้ “ทีมการศึกษา” ถือโอกาสนำสาระดี ๆ เกี่ยวกับ “ดนตรีบำบัด” มาเล่าสู่กันฟัง โดยการใช้ดนตรีบำบัดได้เริ่มมาจากประเทศตะวันตก เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเพิ่งจะเริ่มแพร่หลายเมื่อประมาณกว่าสองทศวรรษนี้เอง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำ “ดนตรี” มาบำบัดในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในโรงพยาบาล โรงเรียน และสถาบันต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เนื่องจากดนตรีบำบัดมีจุดเด่นคือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกระดับอายุ ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาบกพร่องในการพัฒนาการ ด้านสติปัญญา และการเรียนรู้ โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ ท ั้งนี้ดนตรีบำบัดนอกจากจะนำมาใช้กับคนกลุ่มนี้แล้วก็ยังสามารถนำมาใช้กับคนท ั่วไปได้ด้วย โดยจะช่วยลดความเครียดได้ เช่น การตีกลอง หรือเครื่องเคาะจังหวะ การฝึกเทคนิคการผ่อนคลายระหว่างการทำดนตรีบำบัด หรือแม้แต่การคลอดบุตรก็สามารถนำดนตรีบำบัดมาใช้ร่วมได้ด้วย
ส่วนการใช้ดนตรีบำบัดในโรงเรียนเริ่มมีมากขึ้น โดยจะนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ 1.เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็กในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย และ 2.เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP-Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องทักษะการเคลื่อนไหวการใช้กล้ามเนื้อใหญ่เล็กและใช้เ ป็นเครื่องกระตุ้นความร่วมมือระหว่างเด็กพิเศษกับผู้ใหญ่ โดยเด็กพิเศษอาจมีความพิการต่าง ๆ กัน เช่น ปัญญาอ่อน อารมณ์แปรปรวน บกพร่องทางการเคลื่อนไหว ตาบอด หูหนวก พูดช้า
นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังสามารถเข้าไปช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กปกติได้ด้วย ทั้งช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เพิ่มความสุขและความมั่นใจ เตรียมเด็กให้พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยการฝึกประสาทหูให้รับฟังเสียงที่สูงต่ำ เรียนรู้การสร้างจินตนาการตามเสียงและจังหวะเพลง เรียนรู้การฟัง และการฝึกการทำความเข้าใจจากการสื่อสารกับครู ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง การแสดงออกทางสีหน้าร่วมไปกับการเรียนรู้การเข้าสังคมและการทำงานร่วมกันกับ เพื่อนร่วมชั้น เรียนรู้การฝึกความอดทน รู้จักการควบคุมอารมณ์ที่เหมาะสม รู้จักการปลดปล่อย และระบายอารมณ์ เพื่อช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วย
อาจารย์สมชาย อัศวโกวิท รักษาการหัวหน้าสาขาดุริยางคศาสตร์สากล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ซึ่งเป็นนักดนตรีบำบัดอีกผู้หนึ่งที่ได้นำดนตรีบำบัดมาใช้แล้วเห็นผล โดยอาจารย์สมชาย บอกว่า การใช้ดนตรีบำบัดด้วยการฟัง จะทำให้คนป่วยลืมความเจ็บ ลืมความเครียด ลืมความโกรธแค้นได้ชั่วขณะหนึ่ง และถ้าใช้ดนตรีบำบัดบ่อย ๆ ความเจ็บ ความเครียดและความโกรธแค้นจะตกตะกอน จากนั้นอาการจะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็เคยนำดนตรีบำบัดไปใช้กับเด็กกลุ่มประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่มีสมาธิสั้น ซึ่งเป็นเด็กที่จะไม่อยู่นิ่ง รวมทั้งเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว พบว่าหลังจากที่บำบัดด้วยดนตรีไปแล้วเด็กมีอาการดีขึ้น คือเด็กที่อยู่นิ่งไม่ได้ก็จะสงบลง ไม่ก้าวร้าวและมีท่าทีเป็นมิตรกว่าเดิม
นักดนตรีบำบัด ยังบอกอีกว่า ในการบำบัดนั้นนักดนตรีบำบัดจะเป็นผู้เลือกกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน รวมถึงเลือกเครื่องดนตรีและเลือกเพลงที่เหมาะสมกับปัญหาของผู้เข้ามารับการ บริการในแต่ละรายกับการรู้จักจัดโปรแกรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นนักดนตรีบำบัดจึงต้องมีพื้นฐานความรู้ทางดนตรีและจิตวิทยาที่เกี่ยวก ับเสียงดนตรี เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นสื่อกลางการติดต่อสัมพันธ์กับผู้มีปัญหาและรู้จ ักประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ไขความบกพร่องต่าง ๆ ของผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการทำดนตรีบำบัดยังไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล และมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนการเลือกดนตรีที่จะมาบำบัดต้องเป็นดนตรีที่ไม่รุนแรง ผู้เข้ารับการบำบัดชอบ และถ้าเป็นดนตรีหรือเพลงที่ผู้ป่วยร้อง หรือสามารถทำกิจกรรมร่วมได้จะช่วยผู้ป่วยให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับ ก็ต้องถือว่า ดนตรีบำบัด น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับใช้ในการฟื้นฟูจิตใจผู้ป่วยของเร า.
***********
http://www.dailynews.co.th/educate/each.asp?newsid=56137
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก