เพื่อชีวิต..ใคร???

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 22, 2554

อนาคตที่มองเห็นล่วงหน้า

โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 21 กุมภาพันธ์ 2554 16:05 น.
“คำทำนายที่เคยมีมาช้านานนัก เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา เป็นประชาชนเต็มพระนคร
ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน
ชาวประชาจะปีติยิ้มสดใส แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา
จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอร์รัปชันจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
ข้าราชการตงฉินถูกประณาม สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤตผิดเพี้ยนโดยทั่วไป โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี
ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤตธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย
แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
ข้าเป็นนาย นายเป็นข้าน่าสมเพช ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาจารย์ลือระบิล จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม
ความระทมจะถมทับนับเทวศ ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม ส่วนคนชั่วหัวร่อทำท่าดัง”

คำทำนายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ปี 2518
หมายเหตุ
1. คำทำนายนี้ยังขาดบทสุดท้าย 3 บท จะนำมาลงต่อให้ครบในคราวหน้า
2. มีผู้เชื่อว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือสานุศิษย์ใกล้ชิดได้นำคำทำนายรัตนโกสินทร์ 10 รัชกาลมาแต่งเป็นคำกลอน โดยกล่าวถึงคำทำนายรัชกาลที่ 9 โดยพิสดาร อย่างไรก็ทางคณะศิษย์วัดท่าซุง แจ้งว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไม่ได้เป็นผู้แต่งขึ้น ส่วนเป็นผู้ใดแต่งนั้นไม่ทราบ

ผู้เขียนได้รับการประณามอย่างหนักจากท่านผู้อ่าน “ขาประจำ” 3-4 ท่านที่เชื่อว่าผู้เขียนมีเจตนาปลุกระดมให้กองทัพยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาล อภิสิทธิ์ ท่านเหล่านั้นคงไม่เคยฟังหรืออ่านที่ผู้เขียนปราศรัยและเขียนเกือบจะนับไม่ ถ้วนครั้งว่า ผู้เขียนไม่เห็นด้วยหรือไม่เอา “ยึดอำนาจ ขอนายกฯ พระราชทาน รัฐบาลแห่งชาติ”

ไม่กี่วันมานี้ ผู้เขียนไปขึ้นเวทีมัฆวานฯ เป็นครั้งแรกของการชุมนุมครั้งใหม่ รวมทั้งเวทีคู่ขนานของทีวีเพื่อมนุษยชาติช่อง FM ของสันติอโศก และได้บอกท่านผู้ชมและผู้ฟังว่า หากไม่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ คราวนี้ผู้เขียนคงจะไม่ออกมาพูด ทั้งนี้เป็นความจริงใจ

ที่ผู้เขียนขึ้นพูด เพราะต้องการป้องกันมิให้เกิดการนองเลือด เพราะรัฐบาลขี้ขลาดหรือลุแก่อำนาจเผด็จการ ใช้กำลังตำรวจหรือทหารปราบปรามประชาชน ผู้มาคัดค้านด้วยมือเปล่าและสันติวิธีหากมีผู้มาชุมนุมมากๆ ยิ่งมีเด็กหนุ่มสาว และผู้หญิง รัฐบาลจะได้ยับยั้งชั่งใจ ใช้สมองมากขึ้นกว่าใช้ประสาทหัวแม่เท้า

หากมีผู้ชุมนุมมากขึ้นจนถึงจำนวนที่คุ้ม โอกาสที่จะนองเลือดก็ลดน้อยลง เพราะญาติมิตรและลูกหลานของตำรวจทหารที่มารักษาการจะมากขึ้น ทำให้เกิดความเป็นห่วง และเล็งเห็นความบริสุทธิ์จริงใจไร้เบื้องหน้าเบื้องหลังของผู้ร่วมชุมนุมมาก ขึ้นในหลายๆ กรณี รวมทั้งที่เมื่อเร็วๆ นี้ในอียิปต์ ตำรวจ ทหารรักษาการจำนวนมากหันมาเข้าข้างผู้ประท้วง เพราะเกิดความเข้าใจ เห็นใจ และแรงบันดาลใจรักชาติและความเป็นธรรมขึ้นมา

ที่ผู้เขียนเป็นห่วง เกิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็นการนองเลือดในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง ได้ทำนายล่วงหน้า พูด และเขียนหนังสือเตือนก่อนเกิดเหตุการณ์นานๆ แต่ก็เกิดขึ้นจนได้ ทั้งนี้มิใช่อยู่ที่การยั่วยุหรือท้าทายของผู้ประท้วงเป็นหลัก แต่หากอยู่ที่ความขลาดเขลาและไม่รับผิดชอบของผู้ใช้อำนาจ และบางส่วนอาจจะเป็นเพราะการเกิดภาวะเผชิญหน้า ตำรวจ ทหารขาดประสบการณ์ เกิดความกลัวและความเครียด หรือตกเป็นเหยื่อของการยั่วยุ

พลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ในหลวงทรงเตือนว่า หากกระสุนนัดแรกลั่นจากฝ่ายรัฐบาลเมื่อใด เมื่อนั้นรัฐบาลแพ้ ไม่ว่าจะมีข้ออ้างดีเพียงใดผู้เขียนจำเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ได้ เมื่อนักศึกษาแตกกระเจิงบริเวณข้างสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เพราะถูกระเบิดน้ำตาคุณภาพดีจากตำรวจ (ต่างกับชนิดที่ใช้ในวันที่ 17 ตุลาคม 2551 กับพันธมิตรฯ ครั้งรัฐบาลม่านรูด) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสั่งให้ทหารรักษาพระองค์ที่รักษาการอยู่ถอด ดาบปลายปืนและแมกกาซีนกระสุนออกหมด โดยไม่ทรงสงสัยหรือหวาดเกรงใดๆ ทำให้ทหารเข้าใจไม่ลุแก่โทสะ ทุกฝ่ายจึงอยู่ใต้พระบารมีปกเกล้า

อีกประการหนึ่ง ผู้เขียนเป็นห่วงว่าหากเกิดการปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์ขึ้นในครั้งนี้ (ซึ่งต่างกับกรณีของ นปช.ที่ใช้กำลังและประกาศอย่างเปิดเผยว่าจะประทุษร้ายและเปลี่ยนระบบการ ปกครองไปสู่รัฐไทยใหม่ หากรัฐบาลจับกุมผู้นำและใช้กำลังในทางป้องปรามแต่เนิ่น การสูญเสียชีวิตก็คงจะน้อยลงหรืออาจจะไม่เกิดขึ้น) ความโหดร้ายทารุณในการ ต่อสู้ทางการเมืองของเมืองไทยก็จะยกระดับขึ้นสู่สากล ได้แก่ การก่อวินาศกรรมทั่วไป การจับตัวเรียกค่าไถ่ ฆ่าตัวประกัน หรือผู้นำการเมืองและครอบครัว และการลอบสังหารฝ่ายตรงกันข้ามซึ่งเกิดขึ้นอยู่โดยทั่วไป แต่ไม่พึงปรารถนาสำหรับประเทศไทย

หันกลับมาพูดถึงคำทำนายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำข้างต้น ผู้เขียนอยากจะชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของลัทธิความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ ตลอดจนหมอดูและคำทำนายต่างๆ ว่าเป็นสิ่งทรงอิทธิพลโน้มน้าวให้ผู้ที่เคารพเลื่อมใส เชื่อถือ หรือหมกมุ่น กระทำตาม ถึงแม้จะต้องเสียสละด้วยชีวิตก็ยังยอม ดังที่เห็นได้จากกรณีนักรบพลีชีพ หรือแม้กระทั่งเหตุร้ายเมื่อวันครบรอบ 60 ปีของสุเหร่าที่กรือเซะของไทยในกรณีของคำทำนายรัชกาลที่ 9 เช่นเดียวกับการทำนายอื่นๆ จากแหล่ง จากศาสดา หรือจากนักบวชที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะในศาสนาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโคไมนีของอิหร่าน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำของไทย แนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นคำทำนายจะมีสูงมาก ยิ่งในกรณีที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในคำทำนายนั้นที่ใกล้เคียงหรือเกิดเป็นความ จริงขึ้น

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างดังนี้ 1.“ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน” ชาวไทยและชาวโลกคงได้เห็นแล้วว่ากษัตริย์ทั่วโลกและตัวแทนได้เดินทางมาเข้า เฝ้าฯ และถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวในงานเฉลิมพระเกียรติที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร งานอย่างนี้ยังไม่มีที่ไหนในโลก 2. “พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ เกิดวิกฤตธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย” มีอะไรที่ไม่จริงบ้าง

3. “จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า คอร์รัปชันจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร” เขาว่าคอร์รัปชันรัฐบาลนี้เหมือนและยิ่งร้ายกว่ารัฐบาลทักษิณ จริงหรือไม่

4. “ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะมุดขุดรูหนี ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน” มีความสับสนอย่างยิ่ง พระเจ้าอยู่หัวทรงปรารภว่า ไม่รู้จะไปทางไหน ใครทำอะไร ตลอดจนความสับสนสงสัยเรื่องเขมรจับไทย และกรณี MOU 2543 หนองจานและเขาพระวิหาร ฯลฯ หรือไม่

5. “แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน” เกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง และกำลังกลัวว่าจะเกิดขึ้นอีกใช่หรือไม่ โดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่า คำทำนายล่วงหน้าตั้ง 200 ปี นำมาเขียนใหม่ในปี 2518 ช่างใกล้เคียงความจริงอย่างน่าอัศจรรย์เพราะฉะนั้น โปรดคอยอ่านคำทำนาย 3 บทสุดท้าย

ที่มา MNG online

วันศุกร์, กรกฎาคม 30, 2553

ประมวลข่าว สถานการณ์เขาพระวิหาร 2553

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 19:53 น.



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น

c
รวมเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวปราสาทพระวิหาร ก่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ที่ประเทศบราซิล



แถลงการณ์พันธมิตรฯ เตือน “รบ.มาร์ค” ยกเลิกข้อผูกพันเขมรทั้งหมดทันที ก่อนเสียดินแดน (23 ก.ค. 2553)

เมือง ไทยรายสัปดาห์

แฉนายพลไทยสมคบ พล.ท.เขมร ร่นหลักหมุดกินแดนไทย 12.5 ก.ม. (2 ก.ค. 2553)
“สนธิ”ชำแหละ MOU อัปยศ จี้ “มาร์ค”รับความจริง ก่อนเขมรปล้นอีก 1.5 ล้านไร่ (16 ก.ค. 2553)
คำต่อคำ “สนธิ” จี้เลิกเอ็มโอยู 43 ก่อนเสีย 1.5 ล้านไร่ ให้เขมร-เปรียบเทียบความต่างเพลงรัก 3 ชาติ (24 ก.ค. 2553)

รวม ข่าวปี 2553

“มาร์ค” ย้ำจะไม่ยอมเสียพื้นที่รอบเขาพระวิหารให้เขมร (10 ก.พ. 2553)
Google เตรียมทบทวนแผนที่พระวิหารตามที่เขมรร้อง (10 ก.พ. 2553)
นายกฯมั่นใจไทยไม่สูญเสียดินแดนพระ วิหาร หากเขมรร้องศาลโลก (10 ก.พ. 2553)
“นพเหล่” สะเหล่อ! ยันเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลกแล้ว (11 ก.พ. 2553)
พบกัมพูชาเสริมกำลัง “อดีตเขมรแดง” ขึ้น “เขาพระวิหาร” ต่อเนื่อง (11 ก.พ. 2553)
ฝ่ายค้านเขมรหนุน “ฮุน เซน” นำข้อพิพาทชายแดนเข้าสู่ศาลโลก (11 ก.พ. 2553)
“อภิสิทธิ์” ย้ำปกป้องอธิปไตยเขาพระวิหาร มอบ กห.เป็นเจ้าภาพ (18 ก.พ. 2553)
“ม.ล.วัลย์วิภา” ร้องระงับเจรจาหลักเขตไทย-เขมร หวั่นซ้ำรอยพระวิหาร (18 ก.พ. 2553)
ทำไม...ใครๆ ก็อยากเป็น “มรดกโลก” (1 มี.ค. 2553)
“ม.ล.วัลย์วิภา” ร้องระงับเจรจาหลักเขตไทย-เขมร หวั่นซ้ำรอยพระวิหาร (7 พ.ค. 2553)
จี้ “มาร์ค” ขวางยูเนสโก หวั่นเสียเขาพระวิหาร (31 พ.ค. 2553)
ไทยชัดเจนไม่มีข้อตกลงกับเขมรเกี่ยว กับแผนบริหารจัดการ “เขาพระวิหาร” (30 มิ.ย. 2553)
คาราวาน “ทวงคืนแผ่นดินไทย” บุกยื่น “มทภ.2” แจงปัญหาหลักเขตแดน-หวั่นเสีย พท.ให้เขมร 1.5 ล้านไร่ (3 ก.ค. 2553)
ตะลึง! เขมรรุกไทย 25 กม.โหมจัดงานปลุกกระแสคนคลังชาติ (4 ก.ค. 2553)
เสียวประเคนล้านไร่ให้เขมร ไทยโดนปักหมุดล้ำแดน “ฮุนเซน” จ่องาบพระวิหาร (8 ก.ค. 2553)
“สนธิ” จวกประชาธิปัตย์ต้นตอเสียดินแดน (9 ก.ค. 2553)
บอยคอตถกมรดกโลกหวั่นไทยเสียดินแดน (11 ก.ค. 2553)
“สุเทพ” ยันไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษรับมือเขมรจัดงานวันโกรธแค้น (13 ก.ค. 2553)
ทหารเขมรตรึงกำลังเข้มชายแดน “เขาวิหาร” รับมือสถานการณ์ “วันโกรธแค้น” (13 ก.ค. 2553)
นายกฯ ย้ำไม่เดินหน้าเขาพระวิหารหากหลักเขตแดนยังไม่ชัด ยืนยันไม่บอตคอตเวทีมรดกโลก (13 ก.ค. 2553)
ครม.ไฟเขียว ทส.10 ล้าน ประชุมมรดกโลกชะลอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร (13 ก.ค. 2553)
“บิ๊กป๊อก” รุดดูชายแดนไทย-กัมพูชา หลังเขมรเสริมกำลังอาวุธหนักตลอดแนว (13 ก.ค. 2553)
“ศิริโชค” แจง MOU 2543 ผ่านเฟซบุ๊กนายกฯ ชี้แผนที่เขมร “โมฆะ” (14 ก.ค. 2553)
“วันโกรธแค้นไทย” ทำการค้าท่องเที่ยวช่องสะงำเงียบ - “บิ๊กป๊อก” ตรวจเขาวิหารพบผู้นำทหารเขมร (14 ก.ค. 2553)
เขมรเสริมกำลังเข้มรอบปราสาทพระ วิหาร รับมือวันแห่งการโกรธแค้น (14 ก.ค. 2553)
พันธมิตรฯ ซักฟอก “ศิริโชค” บทความ MOU43 ในเฟซบุ๊กไม่เคลียร์ (14 ก.ค. 2553)
ผบ.ทบ.เดินทางถึงพระวิหาร ห้ามสื่อตาม คาดพบปะผู้นำทหารเขมร (14 ก.ค. 2553)
นายกฯ สั่งฝ่ายความมั่นคงดูแลสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาใกล้ชิด (14 ก.ค. 2553)
“บิ๊กเถิก” เยี่ยมกำลังพลบน “เขาวิหาร” อ้างทหารไทยเขมรสัมพันธ์ดี - ขณะลูกน้องกร่างตบกล้องผู้สื่อข่าว (14 ก.ค. 2553)
ฮุนเซนอาการฝ่อ งดจัดงาน'วันแค้น' (14 ก.ค. 2553)
เขมรจัด “วันโกรธแค้น” หวังสร้างภาพฟ้องประชาคมโลก (15 ก.ค. 2553)
เขตแดนไทยชัดก่อนอย่าหวังขึ้นมรดก โลก (16 ก.ค. 2553)
ก.ม.ม.จี้รัฐแถลงจุดยืน"เขาพระ วิหาร"หวั่นสูญเสีย (18 ก.ค. 2553)
จี้ถอนธง “ยูเนสโก” พ้นเขาพระวิหาร (19 ก.ค. 2553)
“เทพมนตรี” ท้วง “ยูเนสโก” เร่งถอนธงออกเขาพระวิหาร (19 ก.ค. 2553)
ปชป.จวก “เหล่” คนขายชาติ ทำไทยเสียเปรียบอธิปไตยเขาพระวิหาร (19 ก.ค. 2553)
“เทพมนตรี” ลั่นบุกยูเนสโกปารีส จี้ ขอโทษไทยคุม คกก.มรดกโลกไม่ได้ (20 ก.ค. 2553)
บุก “ยูเนสโก” ค้าน “พระวิหาร” (19 ก.ค. 2553)
“อ.เทพมนตรี” ฝากความหวัง “ดร.โสมสุดา” ช่วยไทยไม่เสียดินแดน (20 ก.ค. 2553)
“เทพมนตรี” ลั่นยูเนสโกต้องขอโทษคนไทยกรณี “เขาพระวิหาร” (22 ก.ค. 2553)
“สุรเกียรติ์” แจงร่วมกัมพูชา พัฒนาพื้นที่รอบเขาพระวิหาร (22 ก.ค. 2553)
เตรียมบุกยูเนสโกจี้ขอโทษคนไทย (22 ก.ค. 2553)
เปิด จม.“เทพมนตรี” ชี้ “ยูเนสโก” ต้นตอจุดไฟสงครามไทย-เขมร (23 ก.ค. 2553)
ชำแหละ MOU อัปยศ!เปิดประตูให้โจรปล้นประเทศ ฮุบธุรกิจพลังงาน (23 ก.ค. 2553)
เลิกพันธะ “เขาพระวิหาร” พธม.ห่วงเสียดินแดนเพิ่ม 1.5 ล้านไร่ (23 ก.ค. 2553)
หลากสีเหนือรวมพลังต้าน “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียนมรดกโลก “ปราสาทพระวิหาร” (25 ก.ค. 2553)
“มาร์ค” ยันส่ง “สุวิทย์” ถกค้านขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร ย้ำไม่ยอมเสียอธิปไตยเด็ดขาด (25 ก.ค. 2553)
ปชป.ห่วงเขมรอ้างแถลงการณ์ร่วม แนะ “ชะลอจนกว่าเขตปักปันชัดเจน” (25 ก.ค. 2553)
ภาคีฯเขาพระวิหารประณาม “ยูเนสโก” สร้างมายา-หาประโยชน์ (26 ก.ค. 2553)
คนไทยหัวใจรักชาติบุกยูเนสโกค้าน เขมรขึ้นทะเบียนพระวิหาร (26 ก.ค. 2553)
“จำลอง” ยื่นหนังสือยูเนสโกค้านขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร (27 ก.ค. 2553)
ปชป.ค้านขึ้นทะเบียน “พระวิหาร”-ประณาม พท.อ้าง รบ.สร้างสถานการณ์ (27 ก.ค. 2553)
พธม.16 จังหวัดใต้จี้รัฐค้านขึ้นทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลก (27 ก.ค. 2553)
“จำลอง” เผยหนังสือค้านขึ้นทะเบียน “พระวิหาร” ถึงบราซิลเรียบร้อย (27 ก.ค. 2553)
พธม.เข้าพบ นายกฯ ถกพระวิหาร!! “จำลอง” เผยหนังสือถึงมือ กก.มรดกโลกแล้ว (27 ก.ค. 2553)
ปชป.หนุน รบ.ค้านจดทะเบียนเขาพระวิหาร ชี้อยู่ระหว่างปักปันเขตแดน (27 ก.ค. 2553)
นายกฯ รับหนังสือค้านขึ้นทะเบียน “พระวิหาร” จากแกนนำพันธมิตรฯ (27 ก.ค. 2553)
“ลุงจำลอง” ขู่ไล่ “มาร์ค” ชาวบ้านแฉ! เขมรรุกไทยกว่า 100 ไร่ สุดช้ำมีสิทธิทำกินได้ต้องย้ายสัญชาติ (27 ก.ค. 2553)
ภาคีสลายหลังพอใจถกนายกฯ!! “ปานเทพ” รับ “มาร์ค” เห็นต่าง แต่ย้ำยึดสันปันน้ำ (27 ก.ค. 2553)
มาร์คป้อง MOU อัปยศ จำลองบุกยูเนสโกไทยค้านขึ้นทะเบียนพระวิหาร (28 ก.ค. 2553)
รมว.ต่างประเทศเขมร ชี้ “เขาพระวิหาร” ขึ้นทะเบียนเเล้วเมื่อปี 2008 (27 ก.ค. 2553)
รองนายกฯ มั่นใจกองทัพรักษาอธิปไตยไทยได้ (28 ก.ค. 2553)
เครือข่ายคนไทยรักชาติ 5 จว.เหนือล่างรวมพลังต้านยูเนสโก - จี้ “มาร์ค” ล้ม MOU เขมร (28 ก.ค. 2553)
เครือข่ายชาวสุรินทร์ยื่นหนังสือ ค้านแผนจัดการพื้นที่รอบ “พระวิหาร” (28 ก.ค. 2553)
ครม.มีมติค้านขึ้นทะเบียนพระวิหาร เป็นมรดกโลก (28 ก.ค. 2553)
“ชาวภูมิซรอล” ศรีสะเกษหนุน รบ.ไทยบอยคอต ประชุมมรดกโลกต้านเขมร (28 ก.ค. 2553)
อดีต รมช.กต.หนุนไทยถอนตัว กก.มรดกโลก หาก พท.ทับซ้อนยังค้างคา (28 ก.ค. 2553)
นายกฯ กำชับด่วน “กห.-บัวแก้ว” เตรียมรับมือ คกก.มรดกโลก มีมติขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร (28 ก.ค. 2553)
เครือข่ายประชาชนชาวสุรินทร์ ยื่นคัดค้านขึ้นทะเบียน เขาพระวิหาร (28 ก.ค. 2553)
“มทภ.2” ประชุมจัดระเบียบชายแดนเขาวิหาร-ย้ำกองทัพรักษาอธิปไตยไทยได้ (28 ก.ค. 2553)
หวาดเสียว! โฆษก รบ.รับ คกก.มรดกโลกเอนเขมร ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร (28 ก.ค. 2553)
“มทภ.2” มั่นใจแก้รุก “ป่าดงใหญ่” ชัดเจน ส.ค.- ระบุยังไม่เสริมกำลังชายแดนเขาพระวิหาร (28 ก.ค. 2553)
ด่วน! เลื่อนถก "เขาพระวิหาร" เป็นสองทุ่มวันนี้ “ซก อาน” หารือไทยนอกรอบ (29 ก.ค. 2553)

รวมข้อเขียน-บทความที่เกี่ยวข้อง



ทำไมฮุนเซนน็อกอภิสิทธิ์ไม่ลง : ก่อนและหลัง 20 นาทีวิกฤต / ปราโมทย์ นาครทรรพ (14 ก.พ. 2553)
ถอดรหัสเบื้องหลังหมุด GPS ล้ำดินแดนไทย 12.5 กิโลเมตร!!! / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (6 ก.ค. 2553)
ปชป. – ทักษิณ ความเหมือนใน 1 ประเด็นยอมรับแผนที่ 1 : 200,000 / คำนูณ สิทธิสมาน (11 ก.ค. 2553)
เสียมาร์ค...อย่าเสียดินแดน!!! / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (13 ก.ค. 2553)
ศิริโชค โมเดล ! อภิสิทธิ์ โมเดล ? มุมมองใหม่กรณีเอ็มโอยู 2543 และคำพิพากษาศาลโลก 2505 / คำนูณ สิทธิสมาน (18 ก.ค. 2553)
เบื้องหลังพระพุทธเจ้าหลวง ทรงแลกแผ่นดินกับ “เกาะกูด”ยุทธศาสตร์พลังงานอันมั่งคั่งในอ่าวไทย!!! / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (20 ก.ค. 2553)
หลักฐานล่าสุดจากกระทรวงการต่าง ประเทศ สวนทาง‘ตรรกะตัว S’ของนายกฯ / คำนูณ สิทธิสมาน (24 ก.ค. 2553)
โศกนาฏกรรมมรดกโลก บทเรียนราคาแพงเกินไปสำหรับคนไทยทั้งชาติ!!!? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (27 ก.ค. 2553)
“ข้อพิพาท ไทย-กัมพูชา” เมื่ออภิสิทธิ์ กับ ภาคประชาชนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง !!!? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (28 ก.ค. 2553)


คลิ กอ่านข้อมูล ข่าวและบทความเกี่ยวกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร

ภาพยนตร์สารคดีเปิดหลักฐานเขา พระวิหาร โดยอ.วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ ตอนที่ 1 หลักฐานทางธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม


ภาพยนตร์สารคดีเปิดหลักฐานเขาพระวิหาร โดยอ.วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ ตอนที่ 2 หลักเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร (พยานหลักฐานที่พบใหม่)





ที่มา MNG Online

วันอังคาร, มีนาคม 30, 2553

อนาคตประเทศไทย !!!!!!

ข้อสงสัยในความร่ำรวยของทักษิณ ชินวัตร
มิได้อยู่ในวงจำกัดแค่คนไทย และในประเทศไทย คนทั้งโลกก็สงสัยว่าจริงๆ แล้ว
อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศ ไทย ที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร มีเงินทองมากมายมหาศาลขนาดไหนกันแน่ ?
เพราะ ขนาดถูกอายัดทรัพย์ทั้งของตนเองและครอบครัว รวมกันกว่า 76,000 ล้านบาท
แต่ ทักษิณ ก็ยังใช้ชีวิตแบบมหาเศรษฐีติดอันดับโลก
ทั้งๆ ที่ ทรัพย์สินเงินทองทั้งหมด ที่ทักษิณ แจ้งต่อคณะกรรมการป.ป.ช. นั้น ถูกอายัดไว้
ไม่สามารถนำไปใช้ได้แม้แต่บาทเดียว เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว
3 ปีที่ผ่านมา ทักษิณ
- สามารถเดินทางไปได้ทุกประเทศทั่วโลก ที่อยากจะไป ด้วยเครื่องบินส่วนตัว
- พักโรงแรมชั้นหนึ่งคืนละหลายแสนบาท
ไม่ เพียงแต่ใช้ชีวิตอย่างหรูหรา แบบมหาเศรษฐีระดับโลก
ทักษิณ ยังทุ่มเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ซื้อสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในประเทศอังกฤษ
และ ใช้เงินอีกเกือบ 500 ล้านบาท ซื้อคฤหาสน์หลังงามในอังกฤษ ให้ลูกสาวอยู่อย่างสุขสบาย ทั้งๆ ที่เงินทั้งหมดถูกอายัดไว้.!
เท่านั้น ยังไม่พอ ที่ทักษิณ เพิ่งอวดความร่ำรวยของตัวเอง ก็คือ จ่ายเงินซื้อเครื่องบินส่วนตัวีก 1 ลำ ราคา 1,500 ล้านบาท
จ้างฝรั่งเป็น กัปตัน และ แอร์โฮสเตสส่วนตัว ด้วยค่าจ้างเดือนละเกือบ 1 ล้านบาท
ยัง ไม่นับรวมค่าจ้างเลขาสาว 3 คน และ รปภ.อีก 3 คน
ไม่มีใครอิจฉาความร่ำ รวยของทักษิณ
แต่เป็นความสงสัยมากกว่าว่า ทักษิณ ไปทำอะไรมา จึงร่ำรวยมีเงินทองมากมาย ทั้งๆ ที่ถูกอายัดทรัพย์ทั้งหมด และไปเอาเงินจากที่ไหนมาใช้
เพราะตลอดเวลา 5 ปีที่เป็นนายกรัฐมนตรี ทักษิณบอกว่า ไม่ได้ทำธุรกิจ ประกอบอาชีพใดๆ เลย
นอกจากทรัพย์สิน 76,000 ล้านบาทที่ถูกอายัดในประเทศไทย
ทักษิณ ยังถูกรัฐบาลอังกฤษอายัดทรัพย์ ไว้อีก 140,000 ล้านบาท !!
ทักษิณ ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าเอาเงิน 140,000 ล้าบาท มาจากไหน ได้มาด้วยวิธีการอย่างไร และได้มาตั้งแต่เมื่อไร
ทักษิณ จึงถูกถอนวีซ่า ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศอังกฤษอีก
พูดง่ายๆ ก็คือ ทักษิณ เป็นบุคคลที่ประเทศอังกฤษไม่ต้อนรับ
ทั้ง ๆที่ก่อนหน้านั้น ทักษิณ ได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษ นานกว่า 1 ปี.
ทำไมท่าทีของ รัฐบาลอังกฤษต่อทักษิณจึงเปลี่ยนไป ?
- เพราะ ทักษิณ มีพฤติกรรมไม่ต่างจากอาชญากรเศรษฐกิจรายใหญ่ของโลก* ที่ตอไม่ได้ว่าได้เงินมาอย่างไร
- เพราะ ประเทศไทย กลับคืนสู่สภาพปกติ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว
- เพราะทักษิณ มีสถานะเป็นนักโทษหนีคุก หนีศาล ไม่ใช่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง.!!
นอก จากจะไม่เป็นที่ปรารถนาของอังกฤษ
ทักษิณยังถูกบังคับให้ขาย หุ้นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ออกจนหมด
และถูกสโมสรลบชื่อออกจาก ทำเนียบประธานสโมสร
ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในวงการฟุตบอลอังกฤษ
ทักษิณ โจมตีรัฐบาลอังกฤษ ว่าถูกรัฐบาลไทยแทรกแซง
จนไม่กล้าให้วีซ่า และปฏิเสธคำขอเข้าประเทศอังกฤษ ของเขา
ในเวลาไล่เลี่ยกัน บริวารของทักษิณ ก็กล่าวหาว่า
ราชวงศ์ของไทยร้องขอให้ราชวงศ์อังกฤษสั่ง ห้ามรัฐบาลอังกฤษออกวีซ่าให้ทักษิณ
การกล่าวหานี้ มีเป้าหมายให้เกิดผลกระทบต่อราชวงศ์และ สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย และ ราชวงศ์ของอังกฤษอย่างร้ายแรง
ในสายตาของชาวไทยและชาวโลก
วันนี้ ปัญหาของทักษิณ ไม่ได้อยู่เงิน 76,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลไทยอายัด เพราะมีหลักฐานพอเชื่อได้ว่า มีที่มาจากการขายหุ้น
ซึ่งหากทักษิณไป พิสูจน์ในศาล ก็เชื่อว่าน่าจะได้คืน
แต่เงินก้อน 140,000 ล้านบาทที่อังกฤษอายัดไว้ต่างหากที่เป็นปัญหา
ซึ่งทักษิณ ชี้แจงไม่ได้ว่ามีที่มาอย่างไร
ใช่เงินของคนไทย ที่ถูกยักย้ายถ่ายเทออกไปจากประเทศไทย หรือ ไม่ ?
เป็นเรื่องผิดปกติ อย่างมากที่
คนต่างชาติคนหนึ่งมาอาศัยอยู่ในอังกฤษปีเศษ
จะทำธุรกิจ ได้กำไร มีเงินทองกองอยู่ในอังกฤษ มากกว่า 140,000 ล้านบาท
หากไม่โกง หรือ กอบโกยมาจากประเทศอื่น
เรื่องแบบนี้ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???

ทักษิณ ถูกต้อนจนมุมคาจอโทรทัศน์ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี
จนต้องสารภาพว่าเขาทำ ธุรกิจอยู่บนเกาะบริติชเวอร์จิ้น ซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็น ไปได้ไหม ที่เงินจำนวน 140,000 ล้านบาทนี้ ถูกส่งออกจากประเทศไทย ไปฟอกที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น ?
แล้วถูกนำไปซุกซ่อนไว้ในอังกฤษ ในชื่ออื่น ที่
ไม่ใช่ ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ก่อนจะเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
วันนี้ สิ่งที่ ทักษิณ ต้องทำ ก่อนที่จะคิดกลับมÊเป็นนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจเหนือประเทศไทย อย่างที่พูดอยู่ทุกวัน ฝันอยู่ทุกคืน
ก็คือ ชี้แจงให้ประชาชน ทราบ 4 เรื่อง ดังนี้
1. เงินที่งอกขึ้นมาเกือบ 50,000 ล้านบาท ก่อนที่จะเข้ามาทำงานการเมือง ซึ่งแจ้งไว้กับป.ป.ช. ว่ามีอยู่ 25,000 ล้านบาท มาจากที่ไหน ?
2. เงินจำนวน 140,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลอังกฤษ อายัดไว้ มีที่มาอย่างไร ?
3. เงินมากกว่า 10,000 ล้านบาท ที่ใช้ลงทุนและซื้อทรัพย์สินในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น เอามาจากที่ไหน ?
4. เงิน 20,000 ล้านบาท หรือราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ทักษิณ บอกกับนักข่าวว่ามีเหลือติดตัวอยู่เท่านี้
เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายใน ชีวิตประจำวัน ได้มาอย่างไร ?
หากตอบคำถาม 4 ข้อนี้ไม่ได้ ก็ป่วยการที่จะคิดฝัน
ถึงวันจะกลับมาเป็นผู้มีอำนาจเหนือประเทศไทยอีก ครั้ง
เพราะวันนี้คนไทยส่วนใหญ่ ตาสว่างแล้ว
ตาสว่างพอที่จะมองเห็น ว่า ทักษิณ วางแผนปลุกระดมคนเสื้อแดง
ก่อความไม่สงบในประเทศไทย แล้วใช้เป็นเงื่อนไข
บีบบังคับให้รัฐบาลให้คืนเงิน 76,000 ล้านบาทที่อายัดไว้
โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ที่มาของเงินในศาล.!
เปรียบ กันง่ายๆ วันนี้ทักษิณจับประเทศไทย และประชาชนเป็นตัวประกัน
ข่ม ขู่ให้คืนเงิน 76,000 ล้านบาทคืน
หากไม่ทำตามที่เขาต้องการ...
ประเทศ ไทยต้องฉิบหาย …. คนไทยต้องล่มจม.!!
“เมื่อข้าอยู่ไม่ได้ ก็อย่าหวังว่าใคร หน้าไหน จะอยู่อย่างสงบ”

นี่คือ ประกาศิตของทักษิณ....

หากใครที่ได้ติดตามข่าวของเวทีเสื้อแดง เราจะเห็นว่าคอนเซปต์ของเวทีเสื้อแดงก็คือ ชวนไพร่มาไล่ “อำมาตย์” คำถามก็คือคำว่า“อำมาตย์”ของผู้นำคนเสื้อแดงหมายถึงใคร?

หลายครั้ง ที่ ทักษิณโฟนอิน มีเนื้อหาที่ชวนให้คนไทยทุกคนต้องร่วมกันคิด และจากการรวบรวมคำพูดของทักษิณที่โฟนอินทั้งสี่วันที่ผ่านมา ขอตั้งคำถามกับทักษิณว่าคำว่า “อำมาตย์”ของคุณนั้นหมายถึงใคร???

1.ทักษิณ บอกว่า “อำมาตย์อายุแปดสิบกว่าแล้ว” ถามว่าอำมาตย์คนไหนอายุแปดสิบ ปากก็มุ่งโจมตีพลเอกเปรม แต่คนอย่างทักษิณจะไม่รู้เชียวหรือว่าพลเอกเปรมนั้น อายุเก้าสิบเอ็ดปีแล้ว คำถามคือ “อำมาตย์”ที่ทักษิณว่าอายุแปดสิบกว่านั้นหมายถึงใคร?

2.ทักษิณ บอกว่าอำมาตย์นั้นรวยแล้ว มีมรดกเพียงพอแก่ลูกหลานแล้ว ปล่อยประชาชนไปเถอะ คำถามก็คือ พลเอกเปรมฯที่ทักษิณว่าเป็นอำมาตย์นั้น ท่านมีลูกหรือเปล่า ท่านไม่เคยแต่งงาน และไม่มีลูก!!!แล้วคำว่าอำมาตย์ที่ว่านั้นหมายถึงใคร????

3.ทักษิณ บอกว่าอำมาตย์ไทยไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับเหมือนกับในประเทศที่ พัฒนาแล้ว เพราะไทยมีวัฒนธรรมประเพณีศาสนาที่มั่นคง คำถามก็คือทักษิณกำลังหมายถึงใคร???

4.ทักษิณบอกว่าถ้าอำมาตย์รัก “ประชาชน”จริงก็ต้องเลิกอุ้มอีกฝ่ายหนึ่ง ถามว่าคำว่า “ประชาชน”ในบริบทนี้โดยทั่วไปเราจะใช้กับใคร???

5.ทักษิณพูดว่ามีคน ไป “เท็จทูล”อำมาตย์ คำว่าเท็จทูลนี้เราจะใช้กับใคร??? พลเอกเปรมหรือ???

6.ทักษิณ บอกให้อำมาตย์เลิกเอาไม้ค้ำประชาชนได้แล้ว เพราะไม้ค้ำนั้นเป็นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ คำถามก็คือ “ความศักดิ์สิทธิ์”ที่เราพวกเราชาวไทยเคารพนับถือนั้นคือใคร!!!

7.ทักษิณ บอกว่า อำมาตย์ไปอยู่เหนือการเมืองเถอะ อำมาตย์ในที่นี้หมายถึงใคร เพราะในรัฐธรรมมีกฏหมายบางข้อที่เขียนว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง!!!

8.ทักษิณพูดว่า “คนที่บอกให้ผมพัก ทำไมไม่บอกให้นายอภิสิทธิ์พักบ้าง” ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์วันที่ 5 เมษายน 2549 ที่ทักษิณออกมาแถลงว่าจะเว้นวรรคโดยการไม่รับตำแหน่งนายก หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นคนที่บอกให้ผมพัก คนนั้นทักษิณหมายถึงใคร!!!

9.ทักษิณทวงระบอบประชาธิปไตยโดยผ่านการ โฟนอิน และเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยเพื่อประชาชน แทนที่จะบอกว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข!!!

ถ้าคนที่ ทักษิณพูดถึงนั้น ไม่ได้หยุดแค่พลเอกเปรม คำถามต่อไปที่จะถามคนไทยทุกคนคือ...คุณพร้อมจะปกป้องในหลวงของเราหรือยัง???

ต่อจากนี้ไป ... นี่เป็นการตัดสินชี้ชะตาอนาคตของความเป็นชาติไทย ที่จะดำรงคงอยู่อย่างครบองค์หลักที่ประกอบกันเป็นชาติที่มีเอกลักษณ์อย่างทุกวันนี้ หรือ จะเปลี่ยนเป็นระบอบทักษิณหรือที่ทักษิณต้องการ...????????????????????????????

ขึ้นอยู่กับความคิดและวิจารณญาณของปวงชนชาวไทยที่ต้องใคร่ครวญและตัดสินใจครั้งสำคัญแล้ว....

นั่นคืออนาคตประเทศไทย..และถ้ามันจะเกิดอะไรมีผลกระทบเช่นไร..ก็ไม่ต้องไปกล่าวโทษให้ร้ายใคร..เพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับ..การตัดสินใจของคุณเอง...!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

จาก แมแนเจอร์ออนไลน์

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 26, 2553

มหากาพย์โกง..แห่งเมืองสยาม

  • รายงานพิเศษ


  • มหากาพย์“ยึดทรัพย์” ตอน (1) “คตส.” อายัดไม่ได้มั่วเหมือนยุค รสช.

    มหากาพย์"ยึดทรัพย์"ตอน (2) กลโกงที่แยบยล

    มหากาพย์"ยึดทรัพย์"ตอน (3) "ทักษิณ(สำคัญผิด)ผู้บริสุทธิ์"

    มหากาพย์"ยึดทรัพย์"ตอน (4) "อัยการตอกตะปูปิดฝาโลง"

    มหากาพย์“ยึดทรัพย์” ตอนจบ หาก “ทักษิณ” ผิด ใคร?...ตามยึดทรัพย์!

    ตรวจอาการ “ทักษิณ” 4 วันก่อนพิพากษายึดทรัพย์

    “ทักษิณ” สมควรได้รับการปรานีหรือไม่?

  • บทวิเคราะห์


  • หลังคดียึดทรัพย์นช.ทักษิณ สถานการณ์รัฐบาลล่อแหลม เปราะบางปัญหากินมูมมาม

    ศาลยุติธรรม ไม่ใช่ “ศาลเตี้ย” หยุดคุกคาม-บิดเบือน!!

    ไม่เลื่อนตัดสินคดียึดทรัพย์ องค์คณะฯพร้อมนั่งบัลลังก์ ชี้ชะตา“นช.ทักษิณ” 26 ก.พ.

    คุ้มกันเข้มยิ่งกว่าไข่ในหิน ชีวิต 9 องค์คณะคดียึดทรัพย์

    องค์คณะฯ“เปิดห้องลับ” วัดเสียง“ยกฟ้อง-ยึดทรัพย์” ลุ้นระทึกจุดยืน 9 ตุลาการ

    เดินหน้าพิพากษา ยึดทรัพย์ทักษิณ:ไม่เลื่อนตัดสินคดียึดทรัพย์ องค์คณะฯพร้อมนั่งบัลลังก์ ชี้ชะตา“นช.ทักษิณ” 26 ก.พ.

    นับถอยหลังคดียึดทรัพย์ป่วน-ไม่ป่วน!?

    โหมโรงขู่ศาลบิดคดียึดทรัพย์ “แม้ว”

    ศาลคือที่พึ่งแหล่งสุดท้ายของประชาชน

    เปิดกลุ่มเสี่ยงเป้าสังหาร สางแค้น-ล้มคดียึดทรัพย์

    เจรจาให้พ้นผิด-พ้นคดี “ทักษิณ” เป็น “อภิสิทธิชน” !?

    เผยธาตุแท้ “แกนนำเสื้อแดง” สู้เพื่อเงิน 7.6 หมื่นล้านบาท

    สถานการณ์น่าห่วงทั้งก่อน-หลังพิพากษายึดทรัพย์!!

    แม้วพ่ายสงครามข่าวสาร ใช้ลูกขอศาลปิดปาก คตส.

  • "ฝั่งขวาเจ้าพระยา"


  • มีสติ ใช้ปัญญา ฟังคำพิพากษา คดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท

    ศาลไม่ใช่คู่กรณีกับคู่ความ

    ตัวอย่างการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ศึกษาจากต้นตำรับ ของแท้

    ก่อนจะถึงวันพิพากษา

    ปัจจุบันเป็นผลของอดีตและจะเป็นเหตุของอนาคต คดีซุกหุ้นภาค 1 เหตุแห่งคดี ยึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท

    คำถามที่ นช.ทักษิณไม่ยอมตอบ แต่ คุณหญิงพจมาน เฉลยแล้ว เชื่อหรือไม่ ??

    องค์ความรู้เรื่องซุกหุ้น และผลประโยชน์ทับซ้อน จากคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท

    กลับไปอ่านคำพิพากษา คดีคุณหญิงพจมาน เลี่ยงภาษี

    คุณหญิงพจมาน เป็นคุณหญิงเมื่อไร

    Let Justice be Done Though Heavens Fall จากถุงขนม 2 ล้านบาท ถึง การขู่ฆ่าศาล

    วันพิพากษาทักษิณ ไม่ใช่วันชี้ชะตาบ้านเมือง

    “แม้ว” ซุกหุ้นภาค 3 จากศาลรัฐธรรมนูญถึงศาลยุติธรรม

    26 ก.พ.วันชี้ชะตาทักษิณ คดียึดทรัพย์ 76,000 ล้าน

    เอาเงิน 76,000 ล้านบาทไปทำอะไรดี

  • บทความ


  • ในกระแสแห่งยุติธรรมา…ยากจะหาความเกษมเปรมปรีดิ์/สิริอัญญา

    ปัจฉิมสมรภูมิของทักษิณ/ว.ร. ฤทธาคนี

    คู่มือก่อนฟังคำพิพากษาแม้ว/สุรวิชช์ วีรวรรณ

    ไขคดียึดทรัพย์ ฉบับสามัญชน/ชวินทร์ ลีนะบรรจง,สุวินัย ภรณวลัย

    ปรับเปลี่ยนประเทศไทย หลัง ๒๖ กุมภาพันธ์/ประเวศ วะสี

    หนังเรื่องยาว “เหลี่ยมมหาภัย” ใกล้จบ!/ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย

    ก้าวข้ามพ้นทักษิณ เหลือง-แดง จงสามัคคีกัน/สำราญ รอดเพชร

    คดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน : “ยังไงก็ยุ่ง!”/แสงแดด

    หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง (2)/ไทยทน

    หากทักษิณแพ้ ก็เพราะไม่มีสิ่งที่สำคัญ ... คือ ความจริง (1)/ไทยทน

    “26 ก.พ.” อย่าปล่อย “ทักษิณ” จับประเทศไทยเป็นตัวประกัน/ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

    ซุกหุ้นคราวโน้นใช้หลักรัฐศาสตร์ ซุกพ่อคราวนี้ต้องใช้หลักธรรมศาสตร์/ ทวิช จิตรสมบูรณ์

    บทเรียนเมษาเลือดกับ 26 กุมภาฯ หฤโหด/อุษณีย์ เอกอุษณีษ์

    ศาลคือที่พึ่งแหล่งสุดท้ายของประชาชน/สิริอัญญา

    สัญญาณเตือน....ก่อน-หลังคำพิพากษา/วิทยา วชิระอังกูร

    ทำไม ทักษิณ จึงแก้ข้อกล่าวหา ปกปิดวินมาร์ค ได้ดีที่สุดแค่ ยูบีเอส “อาจ” เข้าใจผิด/ไทยทน

    “2 คนนั้นจับเข่าคุยกัน”...แล้วเงินหมื่นล้านบาทจะเข้ากระเป๋าใคร!?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ปิศาจร้ายย่อมกลัวแสงสว่าง/ราวี เวียงพยัคฆ์

    ด่วน! ช่วยกันหยุดยั้งแดงป่วนชาติเพื่อประโยชน์ทักษิณ/ป.เพชร อริยะ

    ไล่ล่าผู้พิพากษา…เป็นเรื่องของคนโง่ที่สิ้นคิด!/สิริอัญญา

    กรรมติดจรวด ไล่ล่าผู้ทรยศ (Treason) !! /คำนูณ สิทธิสมาน

    ยึดทรัพย์-จับแม้วเข้าคุก/ อัญชะลี ไพรีรัก

    หญิงอ้อขายของ 1.5 พันล้าน ให้ลูกในราคา 4.5 พันล้านบาท จะเป็นเรื่อง “แม่กับลูกเอื้ออาทรกัน” ได้อย่างไร?/ไทยทน

    เรื่องมันเผลอหลุดไปของ ปู ยิ่งลักษณ์!/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ยุบ ยึด ยืด.../สำราญ รอดเพชร

    บันทึก “ลับ” ของพานทองแท้!/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    รวยแล้วไม่โกง : วาทกรรมปิศาจ/อุษณีย์ เอกอุษณีษ์

    ศึกชิง 7.6 หมื่นล้านบาท : สมรภูมิอยู่ที่จิตสำนึกของคนไทย/ว.ร. ฤทธาคนี

    ราคาของ “จาตุรนต์ ฉายแสง”/สุรวิชช์ วีรวรรณ

    26 ก.พ. : จุดเกิดและดับสงครามเสื้อแดง/ สามารถ มังสัง

    จาก manger online

    วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 02, 2551

    ผลการตรวจสอบการสลายชุมชน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551


    รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    โดย
    คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1


    รายงานการตรวจสอบที่ /2551

    เรื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
    ด้านการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์

    ผู้ร้อง กรณีหยิบยก และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

    ผู้ถูกร้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม

    คำร้องเรียน

    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ลงมติในการประชุมครั้งที่ 34 /2551 วันที่ 7 ตุลาคม 2551 และวารพิเศษ ให้หยิบยกกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุม ดังกล่าวขึ้นมาตรวจสอบ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน คำร้องที่ 492/2551 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 ให้ตรวจสอบเหตุกรณีการสลายการชุมนุม วันที่ 7 ตุลาคม 2551 สืบเนื่องจากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ตามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสลายการชุมนุมของประชาชน บริเวณรอบอาคารรัฐสภา และพื้นที่ใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จึงขอให้ตรวจสอบและรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน 1 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว เป็นกรณีพิเศษ

    การตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์

    เรื่องเดิม


    สืบเนื่องจากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลาย ฝูงชนที่เข้าร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณถนนราชวิถีและถนนอู่ทองในรอบๆ รัฐสภา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 6 นาฬิกาเศษ รวมทั้งการสลายฝูงชนบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงบ่ายและเย็นตามลำดับ จนเป็นเหตุให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นอกจากนั้นยังมีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิตด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ได้สรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาในการเข้าสลาย ฝูงชนโดยไม่มีการแจ้งเตือน อีกทั้งมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ กฎหมาย จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักการตามปฏิญญาสากลดังกล่าว ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องเคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์และธำรงรักษา ผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย โดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูง ชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นั้น เกิดจากการสั่งการของรัฐบาล เพื่อให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาสามารถดำเนินการได้ตาม กำหนด จึงได้มีการวางแผนการสลายฝูงชนไว้ล่วงหน้าแล้วตั้งแต่คืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมิอาจปฏิเสธความรับผิดในการสูญเสียที่ เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้

    อนุกรรมการฯ ได้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ดังนี้

    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการ กระทำ อันเป็นละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคี

    โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีคำปรารภว่า “โดยที่การยอมรับนับถือเกียรติศักดิ์ประจำตัวและสิทธิเท่าเทียมกัน และโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นหลักมูลเหตุแห่ง อิสรภาพ และความยุติธรรม และสันติภาพในโลก

    โดยไม่นำพาและเหยียดหยามต่อมนุษยชนยังผลให้มีการกระทำอย่างป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการละเมิดมโนธรรมของมนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพในการพูดและ ความเชื่อถือและอิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความต้องการ

    โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับการคุ้มครอง โดยหลักบังคับของกฎหมาย ถ้าไม่ประสงค์จะให้คนตกอยู่ในบังคับให้หันเข้าหาหมอ ขัดขืนต่อทรราชและการกดขี่เป็นวิถีทางสุดท้าย...”


    จากการที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการบาดเจ็บและเสีย ชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม โดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชนที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ จำนวนมากกว่า 50 คน ซึ่งได้ให้ถ้อยคำไว้กับคณะอนุกรรมการฯ แล้ว รวมทั้งการตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีประเด็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

    ประเด็นแรก “การบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผลโดยตรงมาจากการใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมหรือไม่” พิจารณา แล้ว ผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนมากให้ถ้อยคำยืนยันระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้ในการสลายการชุมนุมมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ระเบิดแก๊สน้ำตาและวัตถุคล้ายวัตถุระเบิดชนิดยิงจากอาวุธปืน และชนิดขว้าง ส่วนการทำงานของระเบิดแก๊สน้ำตาที่ผู้ให้ถ้อยคำสังเกตเห็นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะมีควันสีขาวพ่นออกมาสักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมี เสียงดังมาก โดยมีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมา ส่วนอีกแบบหนึ่ง เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะไม่มีควันสีขาวพ่นออกมา สักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมีเสียงดังมาก โดยไม่มีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมาเช่นเดียวกับแบบแรก ก่อนผู้ให้ถ้อยคำจะได้รับบาดเจ็บได้สังเกตเห็นระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างใส่ประชาชนไปถูกที่ร่างกายของผู้บาดเจ็บโดย ตรง หรือตกที่บริเวณใกล้ตัวของผู้บาดเจ็บแล้วเกิดระเบิดขึ้นจนเป็นเหตุให้ผู้ให้ ถ้อยคำได้รับบาดเจ็บขาขาด แขนขาด และบางรายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดตามลำตัว แขน ขา และใบหน้า บางรายได้รับบาดเจ็บแก้วหูฉีกและทะลุ บางรายมีบาดแผลลึกลงไปถึงชั้นไขมัน บางรายกระดูกแขน ขา แตกหัก ผิวหนังและเนื้อหายไปสำหรับผู้บาดเจ็บสาหัสที่มีบาดแผลฉกรรจ์อาการปางตาย คือ นางรุ่งทิวา ธาตุนิยม ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุที่มีแรงอัดเข้าที่บริเวณเบ้าตาและศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน แขนข้างขวาบริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือถูกอาวุธที่มีแรงอัด มีเศษพลาสติกรูปทรงกระบอกฝังอยู่ที่บริเวณข้อมือ ความหวังที่จะมีชีวิตรอดเมื่อมีผู้นำส่งถึงโรงพยาบาลมีเพียง 5 % เท่านั้น สำหรับผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิต คือ นางสาว อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ น้องโบ ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณหน้าอกด้านซ้ายต่อเนื่องถึงต้นแขนด้าน ซ้ายลึกถึงกระดูกซี่โครง กระดูกซี่โครงด้านซ้ายหักทุกซี่ เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดด้านซ้าย 200 มิลลิลิตร ปอดข้างซ้ายฉีกขาดและฟกช้ำ ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายฉีกขาด กระเพาะอาหารทะลุ ม้าม ไตข้างซ้าย ตับ และปอดด้านซ้ายฉีกขาด กระดูกต้นแขนด้านซ้ายหัก แก้วหูซ้ายทะลุ โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ใกล้ๆ นางสาวอังคณาฯ และเห็นเหตุการณ์ได้ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เห็นมีวัตถุพุ่งเข้าใส่ร่างกายของ น.ส.อังคณาฯ โดยตรง และเกิดระเบิดขึ้น

    นอกจากนั้น ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จำนวนหลายรายให้ถ้อยคำว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่บนอาคาร ต้นไม้และกำแพงด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาออกมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยิงเข้าใส่ประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจ นครบาล เพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และที่เดินผ่านถนนราชดำเนินด้านข้างกองบัญชาการตำรวจนครบาลทั้งที่มุ่งหน้า ไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และระหว่างการเดินกลับไปยังสะพานมัฆวาน รวมทั้งประชาชนที่ยืนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนถนนดังกล่าว ในช่วงเวลาระหว่าง 1100 – 12.00 น. และช่วงเวลาระหว่าง 17.00 – 19.00 น. ซึ่งต่างเวลาและต่างสถานที่กันกับที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุม เพื่อเปิดทางให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเข้าไปในรัฐสภาเพื่อ แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในช่วงเช้า และช่วงเย็นเพื่อเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายแล้ว

    อีกทั้งมีผู้ให้ถ้อยคำหลายรายยืนยันว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงวัตถุระเบิดออกมาจากภายในรัฐสภาด้วย ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการระดมยิงของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะยาวนานนับชั่วโมงที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระ บรมรูปทรงม้า ส่วนใหญ่ต้องการเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณรัฐสภา แต่ติดแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างที่มีการเจรจาเพื่อขอผ่านแนวกั้น ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังรัฐสภานั้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้ประกาศเตือนผ่านเครื่องขยายเสียงว่าจะมีการใช้แก๊ส น้ำตา หากยังไม่มีการถอยร่นของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมและได้ขว้างปาสิ่งของต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ หนังสติ๊ก และขวดน้ำซึ่งบรรจุของเหลว เมื่อของเหลวดังกล่าวถูกโล่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีลักษณะเป็นฟองคล้ายน้ำกรด จากนั้นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ ที่นั้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสจำนวนหลายราย รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย เช่นเดียวกับที่รัฐสภาก็ได้มีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ โดยเฉพาะช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 – 17.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสั่งการให้ใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมอีกครั้งเพื่อเปิดทางให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลง นโยบายแล้วนอกจากนั้น เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลหลายรายได้ให้ถ้อยคำว่าได้พยายามนำรถพยาบาลเข้าไป ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้ารัฐสภาฯ แยกการเรือน ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ก็ยังถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตา โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาได้ถอยร่นเข้าไปหลบหลังรถพยาบาล ของโรงพยาบาลต่างๆ และมีเครื่องหมายกาชาดติดอยู่ที่รถพยาบาลสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทุกคันด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังคงระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าใส่ประชานและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ จากการรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านนิติเวช ยืนยันว่า ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส มีบาดแผลเกิดจากแรงอัดอากาศ หรือแรงระเบิดที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อ กระดูก และอวัยวะภายในได้อย่างรุนแรง สำหรับสาเหตุการตายของนางสาวอังคณาฯ เกิดจากบาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่หน้าอกด้านซ้าย ตับ ปอดและหัวใจฉีกขาด ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากวัตถุของแข็งมีความร้อนร่วมกับมีแรงอัดซึ่งลักษณะเข้าได้กับการถูกแรงระเบิด เช่นเดียวกับนางรุ่งทิวาฯ ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูกวัตถุที่มีแรงอัดเข้าที่บริเวณเบ้าตาและ ศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน นอกจากนั้น ประชาชนที่ถูกสะเก็ดระเบิดขนาดเล็กฝังอยู่ตามร่างกายโดยไม่ทราบว่าตนเองถูก สะเก็ดระเบิด เนื่องจากสะเก็ดระเบิดมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือเท่าเมล็ดถั่วแดง สะเก็ดระเบิดเล็กๆ เหล่านี้แทงทะลุและฝังอยู่ตามร่างกาย โดยมีทั้งฝังอยู่ในระดับตื้นใต้ผิวหนังประมาณ 1 เซนติเมตร และหากอยู่ใกล้กับระเบิดแก๊สน้ำตา สะเก็ดจะฝังอยู่ใต้ผิวหนังลึกถึง 10 เซนติเมตร อาการผิดปกติที่เกิดจากสะเก็ดระเบิดจะแสดงอาการหลัง 72 ชั่วโมง โดยผู้บาดเจ็บจะมีอาการปวดร้อน บวมแดงที่บาดแผล ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเกิดการเน่า เนื้อตาย และอาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตถึงแก่ชีวิตได้ หากบาดแผลลักษณะดังกล่าวเกิดกับผู้บาดเจ็บที่เป็นเบาหวาน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียอวัยวะ ตัดแขน ตัดขา เนื่องจากการดูแลรักษาบาดแผลดังกล่าวเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นเดียวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์โดย สถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ได้ส่งทีมนักนิติวิทยาศาสตร์จำนวนหลายคนเข้าตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานในสถาน ที่เกิดเหตุ และผู้เสียหายจากเหตุการณ์ในสถานที่ 3 แห่ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ด้วยเครื่องไอออนสแกนทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งบริเวณกำแพงหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือนายตี๋ ศิลปินวาดภาพที่ได้รับบาดเจ็บมือขวาขาด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตรวจยืนยันด้วยเครื่อง GC-MS อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ติดตามตัว เสื้อผ้า และเส้นผมของผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตอีกด้วย (RDX หมายถึง Cyclotrimethylenetrinitramine มีชื่อเรียกอย่างอื่นคือ Cyclonite หรือ Research Development Formular X ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง TNT และ RDX หรือซีโฟร์ (C4) บริเวณรถจี๊ปเชอโรกีที่ระเบิดหน้าที่ทำการการพรรคชาติไทยในบางจุด จนเป็นเหตุให้พันตำรวจโท มนตรี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยพันธมิตรฯ เสียชีวิตจากเหตุระเบิดรถจี๊ปเชอโรกีดังกล่าว (TNTหมายถึง Trinitrotolune ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการระเบิดที่ชัดเจน

    คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนได้ใช้อาวุธระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนโดยตรง จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ประกอบกับมีวัตถุพยานที่เป็นภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงการใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาในระยะใกล้ โดยเล็งยิงในแนวราบที่มีเป้าหมายคือประชาชนที่มาร่วมชุมนุม หรือแม้เป็นการยิงในวิถีโค้งจากพื้นสู่อากาศและตกลงสู่พื้นดินแต่ก็ยังเป็น การยิงในระยะใกล้ ซึ่งลูกระเบิดแก๊สน้ำตาเหล่านั้น ได้ไปตกลงใกล้ตัวประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาร่วมกับผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงตรงไปยังฝูงชน ไม่ควรให้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมากเนื่องจากมีสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น การบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต จึงเป็นผลโดยตรงจากการระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้ กำลังและอาวุธเข้าสลายการชุมนุม สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกประชาชนทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บในช่วงเย็น ระหว่างเวลาประมาณ 16.00 – 17.00 น. นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตา เข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้า เป็นต้น และยังมีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ตลอดมาทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสถึงกับแขนขาด ขาขาด และเสียชีวิตด้วย ย่อมเป็นการสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาเข้า ใส่ ซึ่งล้วนเป็นผลสืบเนื่องลุกลามมาจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมทั้งสิ้น

    ประเด็นที่สอง “ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลาย การชุมนุมนั้น สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตของประชาชนได้หรือไม่” พิจารณา แล้ว จากผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเมื่อวัน ที่ 7 ตุลาคม 2551 ของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สรุปได้ว่า การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาทั้งชนิดยิงและขว้างที่ผลิตจากประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงคือ “แรงระเบิด” ทำ ให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX จึงไม่ควรนำมาใช้ในการควบคุมฝูงชน แก๊สน้ำตามีสารเคมีอันตราย 2 ชนิด คือ CN (Chlorlacetophenone) และ CS (Chlorobenzyliden malononitrile) โดย CS มีอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่า CN สาร CN อาจก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้น ผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาว่า พลาธิการได้เรียกคืนกระสุนแก๊สน้ำตาจากจีนทั้งหมด เนื่องจาก กระสุนแก๊สน้ำตาเหล่านั้นมีการสั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ในสต๊อกตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงไปยังฝูงชน ไม่ควรใช้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแก๊สน้ำตาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ใช้ในราชการตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ซึ่งแก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยา รุนแรงคือ “การระเบิด” จึงเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณรัฐสภา และด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งเสื้อผ้า และร่างกายของผู้ได้รับบาดเจ็บ ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสลายฝูงชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จึงเป็นระเบิดแก๊สน้ำตาที่มีปฏิกิริยารุนแรงคือการระเบิด ประกอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้ยิงตรงไปยังประชาชน และขว้างเข้าใส่ประชาชน อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ และระดมยิงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะๆ หลายครั้ง แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเห็นผลของการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนจน เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บถึงกับขาขาดในช่วงเช้ามาแล้ว ซึ่งจากวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ที่ได้รับจากสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายได้เดินผ่านและเห็นประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหลายราย บางรายขาขาด ซึ่งเจ้าหน้าที่บางรายเท่านั้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า แก๊สน้ำตาที่นำมาใช้นั้นมีปฏิกิริยาระเบิดอย่างรุนแรงสามารถทำให้ขาขาดได้ แต่ยังคงใช้แก๊สน้ำตาดังกล่าวสลายฝูงชนต่อไปอีกตลอดทั้งวัน ระเบิดแก๊ส น้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุม ดังกล่าว จึงเป็นวัตถุระเบิดที่สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตประชาชน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว

    ประเด็นสุดท้าย
    ที่จะต้องพิจารณาคือ ผู้ใดจะต้องรับผิดชอบต่อการสลายฝูงชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 พิจารณาแล้ว จากการให้ถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และมีประชาชนเสียชีวิต เห็นว่า การใช้กำลังและอาวุธระเบิดแก๊สน้ำตา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงระดมยิงและขว้างใส่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธร้ายแรงโดย ตรง อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต นับเป็นการปฏิบัติการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และขัดต่อหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforeement Officials (CCLEO, 1997) และขัดต่อหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๓ และข้อ๕ กล่าวคือ

    ข้อ 3 คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน

    ข้อ 5 บุคคลใดๆ จะได้รับผลปฏิบัติที่โหดร้าย ผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้

    และขัดต่อหลักการกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 9 กล่าวคือ

    ข้อ 6 ...
    1.) มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎมายบุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดย อำเภอใจ

    ข้อ 7 ...
    บุคคลจะได้รับการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมมิได้

    ข้อ 9 ...
    บุคคลทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

    อีกทั้งขัดต่อหลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles on the Use of Forced and firearms by Law Enforeement Officials) ซึ่งจะต้องพยายามอย่างถึงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการใช้วิธีการที่ไม่ รุนแรงก่อนที่จะต้องพึ่งการใช้กำลังและอาวุธปืน เมื่อใดก็ตามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องใช้การยับยั้งชั่งใจในการใช้ อีกทั้งต้องลดความเสียหายและการบาดเจ็บให้น้อยที่สุดโดยเคารพและรักษาไว้ ซึ่งมีชีวิตมนุษย์
    ดังนั้น ในส่วนของรัฐบาลที่ได้สั่งให้มีการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการ ชุมนุม เพื่อเปิดช่องทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี สามารถเข้าไปในรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบาย และเมื่อรู้แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาด เจ็บและบาดเจ็บสาหัส นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แทนที่จะออกคำสั่งห้ามการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ ยังคงปล่อยให้มีการใช้กำลังและยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกเพื่อ เปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรับสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แล้ว แม้การแถลงนโยบายฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังคงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ประชาชนที่กำลังเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ถูกล้อมอยู่ที่บริเวณรัฐสภา และประชาชนที่กำลังเดินทางกลับไปยังสะพานมัฆวาน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิตด้วยที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ฉะนั้น นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้

    ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวม ประมวลข้อเท็จจริง เพื่อจัดทำรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนนี้ต่อไปโดยเร็ว

    คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1

    วันที่ 24 ตุลาคม 2551

    from :MGR

    วันเสาร์, ตุลาคม 25, 2551

    "ซุกหางเห่า" ภาค ๒

    วันนี้จะยังไม่คุยอะไร ต้องการให้ท่านได้อ่านแถลงการณ์ "ซุกหางเห่า" ภาค ๒ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผมคัดลอกจาก "มติชน" และพร้อมกันนี้ ก็ไม่จำเป็นที่ผมต้องพูดอะไร เพราะมีคน "แกะลาย"

    ให้เห็นลาย "โจรทรยศชาติ" ไว้เสร็จสรรพ!
    เท้าความนำเรื่องไว้นิดนะครับ คือหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณถูก "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง" ตัดสินจำคุก ๒ ปีโดยไม่รอลงอาญา ส่วนคุณหญิงพจมานศาลสั่งยกฟ้อง ในคดีซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๑
    วานซืนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณก็ออกแถลงการณ์ ประกาศตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันและหยันหยามต่อคำตัดสินศาล โดยส่งให้สื่อต่างประเทศเหยียบย่ำทำลายชาติบ้านเมืองตัวเอง ดังข้อความต่อไปนี้
    วูดซัม แมเนอร์
    เซอร์เรย์, อังกฤษ
    22 ต.ค.51
    เรียน เพื่อนสื่อมวลชนต่างประเทศ
    สิ่งที่ผมกำลังเขียนถึงพวกคุณในวันนี้เพื่อให้ความกระจ่างในข้อเท็จจริง บางอย่าง ข่าวพาดหัวที่มีการรายงานว่าผมถูกตัดสินว่ามีความผิดจากการทุจริต ต้องโทษจำคุก 2 ปีจากการซื้อที่ดินของภรรยาผม, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร
    สิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้คือความจริง ผมถูกตัดสินโทษจำคุก 2 ปี ไม่ใช่เพราะข้อหาทุจริต เหตุผลเดียวที่ผมถูกสั่งจำคุก เพราะในช่วงเวลาที่ภรรยาของผมซื้อที่ดินโดยการเปิดประมูลนั้น ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
    ผมได้ฟังคำตัดสินเมื่อวันก่อนและจนถึงตอนนี้ ผมยังคงสับสน เพราะไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการฉ้อฉล คอรัปชั่น หรือกระทั่งการใช้อำนาจในทางมิชอบที่เกี่ยวเนื่องกับประมูล คำถามคือ ภรรยาของผมเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและตัดสินใจยื่นประมูลที่ดินดังกล่าว เป็นผู้ยื่นเสนอราคาจำนวนมากแก่ผู้ขายซึ่งคือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มากกว่าผู้ยื่นประมูลรายอื่นๆ เป็นผู้เซ็นสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย จ่ายเงินค่าที่ดินโดยที่สามีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลย ยกเว้นเมื่อต้องเซ็นชื่อยินยอมในเอกสาร
    ในแง่ของข้อกล่าวหาเรื่องอิทธิพลอำนาจที่ผมอาจมีเหนือกองทุนฟื้นฟูฯ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจควบคุมโดยตรงเหนือกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ศาลไม่ได้พบว่า การซื้อขายที่ดินของภรรยาผมมีอะไรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเป็นการกระทำนอกกฎหมาย เขาไม่ได้ตัดสินว่าเธอมีความผิด เพราะเธอไม่ใช่นักการเมือง แต่ผมเป็น ผมเชื่อว่าพวกคุณจะตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เหลืออย่างอิสระเยี่ยงผู้สื่อข่าว มืออาชีพปฏิบัติกัน แต่น่าเสียดายที่เพื่อนร่วมอาชีพของคุณส่วนใหญ่ในประเทศไทยปฏิเสธที่จะทำ เช่นนั้น
    สิ่งที่ผมจะสามารถทำความเข้าใจได้ดีที่สุดก็คือ ผมถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงอย่างง่ายๆ เพียงเพราะผมเป็นนักการเมืองคนหนึ่งเท่านั้นเอง ผมผิดเพราะผมเป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จ ผมได้รับเลือกตั้งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยเพราะเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน
    ถ้าหากผมจะมีความผิดอะไรสักอย่าง นั่นก็คงเป็นสิ่งที่ผมได้แสดงออกมาให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยกลุ่มที่อยู่ในชนบทและไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆ ได้เห็นว่าพวกเขาสามารถเรียกร้อง และมีสิทธิ์เรียกร้องให้รัฐบาลของพวกเขาจัดทำนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และทำโครงการต่างๆ ที่จะยังผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น
    ผมยอมรับคำตัดสินนี้ด้วยความรู้สึกที่ผสมปนเปกัน รู้สึกโล่งใจสำหรับภรรยาที่ผมดึงเธอเข้าไปสู่ความยากลำบากมากทีเดียว เพราะความทะเยอทะยานทางการเมืองของผม ในการที่จะนำความยิ่งใหญ่และความเป็นอยู่ที่ดีมาสู่ประเทศและประชาชนของผม ทั้งรู้สึกนึกขันปนขมขื่นกับคำตัดสินที่ไร้เหตุผล และรู้สึกกังวลแทนนักการเมืองในประเทศไทยว่า พวกเขาสามารถเดินเข้าคุกไปได้ง่ายๆ เพียงเพราะภรรยาที่โชคร้ายของพวกเขาพยายามทำตามกฎหมาย
    สำหรับพวกคุณที่อาจไม่คุ้นเคยกับประเทศไทย ภาครัฐและภาคเอกชนในไทยที่กำลังดำเนินธุรกิจหลายๆ ด้าน ตั้งแต่สื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งปั๊มน้ำมัน
    ผมไม่ทราบว่าควรจะหัวเราะหรือร้องไห้ดี กับทิศทางที่ประเทศไทยกำลังมุ่งไป ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยถูกขับพ้นจากตำแหน่ง เพียงเพราะว่าเขาทำรายการโทรทัศน์ แต่กลุ่มคนที่ล่วงละเมิดผิดกฎหมายและยึดครองทำเนียบรัฐบาล กลับได้รับความคุ้มครองจากศาล
    ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผม ล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย ผู้เชื่อในทุกสิ่งอย่างยกเว้นประชาธิปไตย ผมเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพียงเพราะผมเป็นตัวแทนของหลักการแห่งระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งส่งเสริมความหวังและความภาคภูมิใจของคนยากคนจนในประเทศของผม
    ประเทศไทยเป็นและจะยังคงเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม คนจำนวนไม่มากที่ไม่สามารถเผชิญกับความจริงได้ กำลังขัดขวางเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่าในท้ายที่สุด พี่น้องชาวไทยจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ครั้งนี้ และการสิ้นสุดของฝันร้ายอยู่ไม่ไกล
    ผมขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้ร่วมแบ่งปันข้อเท็จจริงกับคุณ
    ด้วยความนับถือ
    พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
    ครับ..ผมอ่านไปก็อนาถในใจไป "ทำไม..แผ่นดินไทย ไม่มีคุณงามความดีที่จะให้คนคนหนึ่งที่ชื่อทักษิณ ได้รู้ถึงคุณแผ่นดินบ้างเชียวหรือ?" แต่ก็เหมือนฟ้าส่งใบเสร็จมาให้ คือผมเปิดเมล์ ก็พบว่ามีท่านหนึ่งส่งข้อความมาบอกว่า "นายเสนาะ เทียนทอง" ผู้ปั้นทักษิณเป็นนายกฯ เคยเขียนไว้ในหัวข้อ "จะเอาทักษิณหรือประเทศไทย"
    ช่างพอเหมาะ-พอเจาะเสียจริงๆ ผมอ่านแล้วก็ขอยกมาต่อท้าย "แถลงการณ์ซุกหางเห่า" ภาค ๒ เดี๋ยวนี้เลย
    -นายเสนาะได้เขียนในหัวข้อ "จะเอาทักษิณ หรือประเทศไทย" มีเนื้อหาสาระที่สำคัญว่า รู้จัก พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งแต่ปี 2529 แบบผิวเผิน ตั้งแต่เป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี
    -พ.ต.ท.ทักษิณพยายามสร้างความสัมพันธ์กับหัวหน้าพรรค คือทำธุรกิจกับการเมือง วิ่งเต้นเข้าทางผู้ใหญ่สูงสุดของพรรค
    -ต่อมาตนย้ายไปเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ พ.ต.ท.ทักษิณได้สนับสนุนปัจจัยการเมืองผ่านไปทาง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ในขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณจึงได้เข้ามาเป็นรองนายกรัฐมนตรี
    -เมื่อก่อนเกิดวิกฤติค่าเงินบาท นายอำนวย วีรวรรณ รมว.คลังในขณะนั้นลาออก มีการคิดกันว่าจะให้ตำแหน่งนี้กับ พ.ต.ท.ทักษิณด้วยซ้ำ ตนได้ไปทาบทามคนที่น่าเชื่อถือในสังคม โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รับปากว่าจะเข้ามาช่วยเป็น รมว.คลัง
    -ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณไปนำนายทนง พิทยะ ผู้บริหารธนาคารทหารไทยมารับตำแหน่งนี้แทน โดยที่ตนไม่รู้เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณไปซุบซิบกับ พล.อ.ชวลิต และนายโภคิน พลกุล อดีต รมต.สำนักนายกฯ แล้วจึงมีคำสั่งแต่งตั้งนายทนง
    -ก่อนเงินบาทลอยตัว ผมไม่รู้เรื่องด้วย เพราะอยู่นอกวงของพวกเขา คนที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินบาทในขณะนั้นมี 4 คนคือ พล.อ.ชวลิต พ.ต.ท.ทักษิณ นายทนง และนายโภคิน
    -ส่วนจะรู้เห็นกันขนาดไหน ผมไม่รู้ เขาบอกว่าเขาไม่รู้ อันนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าถามผมว่า ผลที่เกิดหลังค่าเงินบาทลอยตัวออกมาอย่างไร
    "มันส่อชัดว่าทักษิณและบริษัทรอดวิกฤติคนเดียว คือผลลัพธ์มันสะท้อนชัดอยู่แล้ว การที่มีคนไปซื้อประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทเอาไว้มากๆ หรือไปซื้อดอลลาร์เอาไว้มากๆ ก่อนประกาศลอยค่าเงินบาท ก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อเอาเงินประกัน เศรษฐกิจของชาติพังเสียหาย แต่ตัวเองรอดพ้นวิกฤติเพราะได้ประกัน" นายเสนาะกล่าว
    -นายเสนาะกล่าวว่า หากต้องการจะรู้ทันทักษิณ ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนอย่างไร เพราะลักษณะเฉพาะและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้อำนาจและบริหารราชการแผ่นดินของทักษิณ ทั้งหมดนั้นประกอบขึ้นมาเป็นระบอบทักษิณ ซึ่งมีทั้งระบบการใช้อำนาจและการแสวงหาผลประโยชน์อยู่ร่วมกัน
    -พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนมีวุฒิการศึกษา แต่ขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ ไม่มีสภาวะผู้นำโดยเฉพาะในระดับประเทศ เป็นคนไม่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการ แม้เคยรับราชการตำรวจก็อยู่ไม่นาน และใช้เวลาว่างไปกับการประกอบธุรกิจ
    -พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักเสี่ยงโชค ขาดความรอบคอบ เคยประสบปัญหาทางธุรกิจ แลกเช็คและถูกฟ้องเช็คเด้ง นิยมบริหารธุรกิจแบบคิดไวทำไว โดยใช้การตลาดเป็นเครื่องมือ
    -การจดทะเบียนคนจนนั้น ผมเคยแนะนำว่ามันทำไม่ได้ ไปประกาศเฉยๆ ไม่ได้ เอามาขึ้นทะเบียนเฉยๆ คนที่เป็นหนี้สินอยู่ที่ไม่ใช่คนจนก็ไปจดทะเบียนด้วย มันจะบานปลายไปใหญ่
    "พี่ไม่เห็นด้วย มองด้วยจิตสำนึกมันปฏิบัติไม่ได้ มันได้แค่โชว์ตัวเลขตอนเลือกตั้ง จากนั้นไม่มีผลจริง" แต่ทักษิณตอบว่า
    "โธ่...พี่เหนาะ คนตาบอดมันกลัวเสือเหรอ ถ้าเราไม่พูดแบบนี้เราจะได้เสียงเหรอ"
    -เขาพูดอย่างนี้แสดงว่าไม่ได้จริงใจกับนโยบาย ประกาศไปก่อนค่อยหาวิธีการทำการตลาดทีหลัง ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าขอให้ได้คะแนนเสียงไว้ก่อน
    -ไม่สนวิธีปฏิบัติราชการ แม้แต่โครงการเอสเอ็มแอล ผมก็เตือนว่าเข้าข่ายซื้อเสียงเพราะอยู่ในภาวะเลือกตั้ง ทักษิณตอบว่า
    "โธ่...อำนาจอยู่ที่เรา กกต.ก็ของเรา คนก็ของเรา"
    "ล่าสุดก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีการกระทำผิดกฎหมาย คือขนคนมาฟังการปราศรัยโดยจ้างมา มันผิดกฎหมายแน่นอน แต่ กกต.กลับเฉย" นายเสนาะกล่าว
    -นายเสนาะกล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณเคยบอกรัฐมนตรีในรัฐบาลว่า "ไม่ต้องคิดอะไรมาก ขอให้ทำตามก็พอ"
    -หากรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนที่คิดมาก รอบคอบ คอยตักเตือน จะอยู่ไม่ได้เลย คนที่อยู่ได้จะต้องตอบ "เยส" อย่างเดียว เช่น นายพินิจเคยพูดว่า "ท่านนายกฯ ผมไม่เคยเห็นใครคิดได้ดีเท่านี้เลย" หรือนายเนวินก็มักพูดว่า "ดีนายๆ"
    -ด้วยเหตุนี้ รัฐมนตรีบางคนในช่วงเทศกาลเลือกตั้งมักมีบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์เกินอยู่เต็ม รถ จึงได้รับการฟูมฟักอย่างดี เหนียวแน่น ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ ในช่วงหลัง นายเสนาะกล่าวว่า
    -ยิ่งกว่านั้น ยังมีการใช้ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวง โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ
    -แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา จะทำอะไรก็ต้องผ่านคนคนนี้ เรียกว่ามีสองสามคนไปดูแลผลประโยชน์ทุกกระทรวง
    -เป็นเสมือนหลงจู๊ แล้วยังส่งคนไปยึดตำแหน่งใน กมธ.ชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนฯ ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ถ้ารัฐมนตรีคนไหนเสนอเรื่องขอใช้งบกลางที่จัดสรรไว้มหาศาล ก็ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน
    -รัฐมนตรีหลายคนจะมีคนของเขาเข้ามาบอกว่า "เดี๋ยวทำงบฯ จะเอากี่พันล้าน แต่ต้องเอาเข้าพรรค 10 เปอร์เซ็นต์" หมายความว่าจะไปทำอะไรขึ้นมาก็ได้ ไปเขียนโครงการมา
    นายเสนาะกล่าวว่า
    -ถ้ารัฐมนตรีคนไหนทำไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้ เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง แล้วใช้วิธีที่เก่งที่สุด คือยกเว้นระเบียบพิเศษ ยิ่งใช้วิธีขีดเส้นตายว่าต้องเสร็จวันนั้นวันนี้ เหมือนกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อจะได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ
    -นโยบาย 10 เปอร์เซ็นต์ รัฐมนตรีต้องทำโครงการ โดยตบแต่งงบประมาณขึ้นมาก่อนว่ามูลค่าของโครงการจะครอบคลุม 10 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องหักเข้าพรรค จากนั้นไปตกลงกับคนของเขาผ่านคุณหญิง เมื่อเรียบร้อยเมื่อใดก็ส่งมาให้ตัวตายตัวแทนทางการเมืองที่เขาไว้ใจ
    -พอเข้า ครม. นายกฯ จะเสนอโครงการและอนุมัติให้เองเสร็จสรรพ รัฐมนตรีไม่ต้องคิด ไม่ต้องสงสัย ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ ใครเข้าใจว่า 10 เปอร์เซ็นต์มีอยู่เท่าไร คงต้องไปถามคุณหญิง
    นายเสนาะกล่าวว่า
    -สิ่งที่สุดทนจริงๆ คือ กรณีผู้ว่าฯ สตง.ที่ถูกแทรกแซงการทำงาน แทรกแซงองค์กรอิสระ และละเมิดพระราชอำนาจ มันเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่สำคัญ ที่ทำให้ตนลุกขึ้นอภิปรายเมื่อ 8 มิ.ย.2548 การประกาศตัดขาดแตกหักกลางสภาฯ พูดได้ว่า ถ้ามันเอาชีวิตได้มันเอาไปแล้ว มันแค้น แต่ก็ไม่กล้า
    -ตอนหลังคนของ พ.ต.ท.ทักษิณก็ติดต่อมาหลายครั้ง ตนพูดตรงๆ ไปว่า
    "เรื่องมันมาถึงขนาดนี้แล้ว เมื่อไม่ยอมลดละเองจนเราต้องแตกหักไปสู่สาธารณชนแล้ว สิ่งสำคัญนายกฯ ก็ต้องแก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดให้ได้"
    -และตนยังพูดอีกว่า "ถ้าบอกจะกินข้าวกันตอนนี้ มันยังไงล่ะ ให้พี่เป็นผู้เป็นคนดีกว่า อย่าให้พี่เป็นหมาเลย"
    -นายเสนาะกล่าวว่า ก่อนที่จะเกิดปัญหาทั้งหมดตนก็พยายามไปเตือน แต่เรื่องที่เตือนก็เป็นการขัดผลประโยชน์เขาทุกเรื่อง เช่นคิดว่ารัฐมนตรีคอรัปชั่น ตนก็ไปเตือนเพราะคิดว่าไม่รู้ ที่ไหนได้มันสั่งเอง ขนาดกลายเป็นว่ารัฐมนตรีคนไหนไม่ทำตามสั่ง ภายหลังก็อยู่ไม่ได้
    -ความขัดแย้งในปัจจุบัน สาเหตุมาจากตัวปัญหาคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ คนคนนี้โกงเพื่อเข้ามาสู่อำนาจ เมื่อมีอำนาจก็โกงอีก อันตรายต่อบ้านเมืองสุดๆ พ.ต.ท.ทักษิณน่ากลัวเพราะเป็นคนมีวุฒิการศึกษา จ้องวางแผนเอาเปรียบคนอื่น ถือว่าต่ำต้อยเหลือเกินในการเป็นผู้นำประเทศ
    "ผมจำคำพูดของทักษิณที่เคยบอกว่า พี่เหนาะผมพร้อมแล้ว สมบัติส่วนหนึ่งผมให้ลูก อีกส่วนเก็บไว้สำหรับตายาย กินจนตายก็ไม่หมด สมบัติอีกส่วนจะทำเพื่อบ้านเมือง จะใช้หนี้แผ่นดิน
    คำพูดนั้นๆ ผมเคยหลงคิดว่าคนคนหนึ่ง รวยแล้วกลับใจ คิดใช้หนี้แผ่นดิน ตอนนี้ผมรู้ความจริงแล้วว่า รวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเมืองเพื่อเอาประกัน คนรวยคนนี้รวยแล้วไม่รู้จักพอ ไม่ใช้หนี้แผ่นดินยังไม่พอ มันยังโกงกิน ทรยศต่อแผ่นดิน" นายเสนาะกล่าวและว่า
    -ตนเคยพูดและเตือนกับคุณหญิงอ้อว่า "น้อง ถ้ามันได้มาอีกแสนล้าน เอาไปทำไม" เขาพากันตอบว่า "ก็รู้ แต่ในเมื่อเล่นการเมืองมันต้องควักเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นธุรกิจ"
    -เคยเตือนหนักๆ ถึงขั้นว่า "ในอนาคตถ้ามันจะเดือดร้อนหนักๆ คือคนเป็นหัวนะ" เขาก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า
    "ก็รู้ ถ้าพี่ทักษิณจะลง ต้องให้พรรคไทยรักไทยมีอำนาจอย่างน้อยสองสมัยถึงจะปลอดภัย"
    ครับ..ใครช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษตอบ "แถลงการณ์ทักษิณ" ให้สื่อนอกได้รู้ทันต่อแถลงการณ์ลวงโลกของไอ้กากเดนมนุษย์ตัวนี้หน่อยเป็นไร ที่ซุกหางเห่าเอาดีใส่ตัวว่า "เพราะความทะเยอทะยานทางการเมืองของผม ในการที่จะนำความยิ่งใหญ่ และความเป็นอยู่ที่ดีมาสู่ประเทศและประชาชนของผม" นั้น แท้จริงแล้ว ๕ ปีที่มันบริหารประเทศ เป็น ๕ ปีที่ ๒ ผัว-เมียอัปรีย์ มันทำกาลีกับบ้านเมืองสถานเดียว.

    วันอาทิตย์, สิงหาคม 03, 2551

    “ปิโตรธิปไตย” (Petrocracy)

    โดย ประสาท มีแต้ม 3 สิงหาคม 2551 18:57 น.
    นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท”

    เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท

    ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจ ยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย แผ่นภาพข้างล่างนี้ผมได้รับมาจากท่านด้วยความขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง โปรดสังเกตว่า ซ้ายมือด้านล่างของแผ่นภาพ มีตราสัญลักษณ์ของกระทรวงพลังงานอยู่ด้วยเรียบร้อย สำหรับข้อความทางขวามือเป็นของท่านครับ
    from : MGR online

    เหตุผล 2 ประการคือ (1) เชื่อในเจตนาดีและความสามารถของผู้ให้ข้อมูล และ (2) ข้อมูลอื่นๆ ที่ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกัน

    ผมเองยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขนี้ แต่ก็เชื่อว่ามีความถูกต้องแล้วด้วย

    เหตุผล 2 ประการคือ (1) เชื่อในเจตนาดีและความสามารถของผู้ให้ข้อมูล และ (2) ข้อมูลอื่นๆ ที่ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกัน

    ประเด็นที่ผมให้ความสนใจในที่นี้ก็คือว่า การจัดการผลประโยชน์จำนวนมหาศาลนี้เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจเหนือทรัพยากรนี้ ประชาชนไทยจะได้รับผลประโยชน์จำนวนเท่าใด

    เราท่านทั้งหลายต่างก็คุ้นเคยกับคำว่า “ประชาธิปไตย (democracy)” เพราะคำว่า “demo” หมายถึง “people” หรือ ประชาชน ส่วนคำว่า “cracy” เป็นคำต่อท้ายซึ่งหมายถึง “รูปแบบของการปกครอง” ดังนั้น ประชาธิปไตย หมายถึง “รูปแบบการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน”

    ในบทความนี้ผมจึงขอใช้คำว่า “ปิโตรธิปไตย” (Petrocracy) ซึ่งหมายถึง “รูปแบบการถือครองหรืออำนาจในการจัดการผลประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียม”

    คุณบรรจง นะแส นักพัฒนาเอกชนในภาคใต้เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้นำความจริงเรื่องแหล่งน้ำมันใน อ่าวไทยมาเปิดเผยต่อสาธารณะบนเวทีพันธมิตรฯ ท่านเป็นคนแรกเสียด้วยซ้ำ สรุปความได้ว่า รัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ (นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ได้ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวกับบางบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว บางแหล่งเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปี บางบริษัทที่ได้รับสัมปทานได้จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงิน ที่คนไทยบางส่วนคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี

    โดยสรุป นักการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการรัฐประหาร ได้ใช้อำนาจแทนประชาชนมาจัดการกับแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลนี้เรียบร้อยไป แล้ว

    ผมไม่ทราบว่าจะมีแหล่งใดบ้างที่ยังไม่ได้จัดสัมปทาน หรือว่าทุกแหล่งได้สัมปทานไปหมดแล้วทั้ง 100 ล้านล้านบาท แต่ที่ผมสนใจก็คือว่า การ มีแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลไม่ได้หมายความว่าประชาชนชาวไทยจะมีความมั่งคั่ง อยู่ดีกินดีกันอย่างทั่วหน้า ตราบใดที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ คอร์รัปชันแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าประชาชนจะอยู่ดีกินดี

    บทความนี้จะนำเสนอโดยย่อๆ คือ (1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้ รับจากแหล่งทรัพยากรดังกล่าว (2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน และ (3) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่

    (1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้รับจากแหล่งทรัพยากร

    โดยปกติ ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์จาก 3 ส่วน คือ

    1. ค่าภาคหลวงประมาณ 12.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้

    2. ผูรับสัมปทานปโตรเลียม ที่มีผลกําไรจากการประกอบกิจการปโตรเลียมในแตละรอบปปฏิทิน จะตองชําระภาษีเงินไดปโตรเลียมรอยละ 50

    2. ผลประโยชนตอบแทนพิเศษภายใตเงื่อนไข Thailand III ภายในเดือนพฤษภาคมของปถัดไป

    จากรายงานประจำปี 2549 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่าตั้งแต่มีการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2524 จนถึง 2549 ประเทศไทยผลิตได้คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นเป็นเงิน 1.637 ล้านล้านบาท (ยังห่างไกลจาก 100 ล้านล้านบาท) โดยที่

    - เราได้รับค่าภาคหลวง 0.206 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6%

    - เราได้ภาษีตามข้อ (2) จำนวน 0.216 ล้านล้านบาท

    - เราได้ภาษีพิเศษตามข้อ (3) จำนวน 0.011 ล้านล้านบาท

    รวมเบ็ดเสร็จเราได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 26.4 ของมูลค่าทั้งหมด หรือคิดเป็นเงิน 4.33 แสนล้านบาท ถ้าหาค่าเฉลี่ยตลอด 25 ปีแล้ว เราได้รับปีละ 17,320 ล้านบาท(เพราะปีแรกๆ ปริมาณการใช้น้อยและราคาถูกกว่าทุกวันนี้)

    แต่ถ้าคิดเฉพาะปี 2549 ปีเดียวเราได้รับค่าภาคหลวง 35,227 ล้านบาท

    ข้อมูลจากบริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย)

    บริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล ที่คนไทยรู้จักมาก่อน จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 66% และ 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ นี่ยังไม่นับรวมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า (ที่มีประมาณ 27% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด)

    ดังนั้น บริษัทนี้จึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาเป็นพิเศษ

    จากเอกสารของบริษัทรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2505 ถึง 2550 (45 ปี) บริษัทนี้ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วจำนวน 157,153 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 515,235 ล้านบาท

    เอกสารนี้เล่นเล่ห์เหลี่ยมมาก คือไม่ยอมบอกว่า ตนเองมีรายได้เท่าใด และมีกำไรเท่าใด

    แต่ถ้าเราถือว่า บริษัทต้องเสียค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6 ของรายได้ เราสามารถคำนวณได้ว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 1.247 ล้านล้านบาท หลังจากเสียค่าภาคหลวงและค่าภาษีทั้งสองชนิดแล้ว บริษัทเชฟรอนจะมีกำไรประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77 ของเงินลงทุนทั้งหมด

    กำไรงามขนาดนี้ สามารถเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่งแล้วว่า ทำไมคนไทยต้องซื้อพลังงานในราคาที่แพงมาก ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานในบ้านของเราเอง

    กำไรงามขนาดนี้ ก็สามารถเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมนักการเมืองจึงให้สัมปทานล่วงหน้ากันนานๆ

    (2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน

    ประเทศไนจีเรีย เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้มากเป็นอันดับหกของโลก และมีแหล่งการทำการเกษตรที่สมบูรณ์ แต่จากการสำรวจของทางราชการเองพบว่า นับตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1996 ประชาชนที่ยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28 เป็น 66 ของประเทศ นอกจากนี้รายได้ต่อหัวก็ลดลงกว่าเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หรือเป็น 67 ล้านคนในปี 1996 (ประชากรทั้งประเทศประมาณ 130 ล้านคน)

    ปัญหาใหญ่ของประเทศนี้คือการคอร์รัปชัน บางคนกล่าวว่า ในช่วง 40 ปีของการผลิตน้ำมัน ประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ “ได้ถูกถูกขโมยไป”

    บริษัทขุดเจาะน้ำมันไปเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ประเทศได้รับเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.7% เท่านั้น

    (3) ตัวอย่างจากประเทศนอรเวย์

    นอรเวย์ เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ว่าตลอด 30 ปีจะผลิตไม่เกิน 30% ของที่ประเทศมี ทั้งนี้เพื่อสำรองไว้ให้คนรุ่นหลัง

    นอกจากนี้ ทางรัฐบาลได้ตั้งกองทุนน้ำมัน (Norway’s state Petroleum Fund) ซึ่งปัจจุบันกองทุนนี้มีทุนถึง 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางรัฐบาลนำผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนไปช่วยเหลือสังคม

    (4) ตัวอย่างจากประเทศไทย

    ที่ผ่านมา ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม ได้มากเกินกว่าที่คนไทยจะใช้หมด จึงต้องส่งไปขายในต่างประเทศ โดยไม่สนใจว่า คนไทยในรุ่นต่อไปไปจะเอาพลังงานที่ไหนใช้

    นอกจากนี้กองทุนน้ำมัน ก็ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองนโยบายประชานิยมของนักการเมือง บางช่วงบางตอนกองทุนนี้ติดลบหนึ่งเกือบหนึ่งแสนล้านบาท

    (5) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่

    เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่นโยบายพลังงานของประเทศไทยถูกร่างโดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานและข้าราชการบาง ส่วน แนวคิดของคนกลุ่มนี้อยู่ในกรอบที่ทำให้คนใช้พลังงานที่เขาสามารถผูกขาดได้ เท่านั้น เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น

    ในระยะหลัง เมื่อเกิดปัญหาพลังงานที่เขาผูกขาดได้เกิดขาดแคลนและแพงขึ้น ผู้กำหนด นโยบายเหล่านี้จึงนำเสนอพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งพวกเขาก็สามารถผูกขาดได้อีก

    แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้รู้ด้านพลังงานได้สรุปไว้ว่า ทางออกของปัญหาพลังงานมีเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ (1) ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่รั่วไหล ไม่ฟุ่มเฟือย และ (2) หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งใช้แล้วไม่มีวันหมด ได้แก่ พลังงานลม แสงแดด ชีวมวล ของเสียจากเทศบาล เป็นต้น

    (6) สรุป

    การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้เลย ถ้าไม่ให้ความสนใจกับ “นโยบายพลังงานใหม่” เพราะรายจ่ายด้านพลังงานของประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 18% ของรายได้ประชาชาติ การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาคนตกงานได้ เพราะ ธุรกิจพลังงานในปัจจุบันมีการจ้างงานน้อยมาก แต่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนมีการจ้างงานเยอะมากเลย เหล่านี้เป็นต้น

    เปิดคำพิพากษา “เมียแม้ว” รวยแต่โกงภาษี ผิดร้ายแรง

    ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์
    นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่ 1 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ 2 นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ที่ 3 ข้อหา ร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย และร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ โดยจงใจหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

    ข้อหาที่ 1 เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2540 จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยใช้อุบายว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สั่งขายหุ้นบริษัทดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อของ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี หรือนางดวงตา ประมูลเรือง เป็นผู้มีชื่อทางทะเบียนถือการครอบครองแทน รวมมูลค่าหุ้น 738,00,000 บาท ให้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นญาติของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสามร่วมกันแสดงเจตนาลวงว่าได้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมูลค่าหลักทรัพย์ที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ใน ตลาดหลักทรัพย์มา รวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน เพื่อประเมินเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ความจริงแล้วจำเลยที่ 2 ไม่ได้ขายหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แต่เป็นการโอนหุ้นให้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นญาติของจำเลยที่ 2 เป็นการอำพรางการให้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้รับการให้จะต้องนำมูลค่าหลักทรัพย์ประมาณ 738,000,000 บาท มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้พึงประเมิน ประจำปี 2540 เป็นเงินจำนวน 273,060,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2540 โดยมิได้นำค่าหุ้นดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นการร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย หรือวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน เป็นเหตุให้รัฐเสียหายขาดรายได้

    ข้อหาที่ 2 ต่อมาวันที่ 18 พ.ค.2544 ถึงวันที่ 30 ส.ค.2544 จำเลยที่ 1 และ 2 โดยรู้อยู่แล้ว จงใจได้บังอาจร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีอากร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน โดยจำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำและตอบคำถามว่า การซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 7 พ.ย.2540 เป็นกรณีจำเลยที่ 2 ยกหุ้นให้ โดยโอนหุ้นให้บุคคลอื่นถือแทนในตลาดหลักทรัพย์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้จ่ายเงินซื้อ และให้ถ้อยคำเพิ่มเติมว่า เป็นพี่บุญธรรมของจำเลยที่ 2 ได้ช่วยเหลือกิจการของจำเลยที่ 2 จนมีความเจริญก้าวหน้า จำเลยที่ 2 ได้มอบของขวัญให้แก่ครอบครัวและบุตรชายของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นดังกล่าว โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการให้โดยเสน่หา ตามธรรมเนียมประเพณีและธรรมจรรยาของสังคมไทย ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ถ้อยคำ ตอบถ้อยคำมีสาระสำคัญว่าตนตั้งใจที่จะมอบหุ้นให้จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่งในวันแต่งงาน แต่มอบให้ไม่ทันเนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เตรียมเข้าทำงานในทางการเมือง เมื่อจัดการเรื่องบริหารงานเสร็จสิ้นจึงได้ยกหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้น เป็นของขวัญให้แก่ครอบครัว และบุตรชายของจำเลยที่ 1 โดยหุ้นที่โอนให้เป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่ง น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี เป็นผู้ถือหุ้นแทน และอยู่ในพอร์ตที่ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่ให้ถ้อยคำ ตอบถ้อยคำน้ำเป็นเท็จ เป็นเพียงข้ออ้างให้พนักงานสรรพากรเชื่อว่าการโอนหุ้นดังกล่าวเป็นเงินที่ ได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ความจริงแล้วเป็นการให้เพื่อตอบแทนจำเลยที่ 1 ทำงานให้กับครอบครัวจำเลยที่ 2 แต่ทำอุบายอำพรางว่าเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการเพื่อจะหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงหรือ พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความเท็จ โดยให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ และโดยการฉ้อโกง โดยอุบายของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้รัฐเสียหายต้องขาดรายได้อันควรได้เป็นเงินภาษีอากรจำนวน 273,060,000 บาท และเงินเพิ่มจำนวน 273,060,000 บาท รวม 545,120,000 บาทคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ได้ตรวจสอบมูลคดีแล้ว จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแทน และได้แจ้งข้อกล่าวหาให้จำเลยทั้งสามททราบโดยชอบแล้ว จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ

    พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบมาโดยตลอดแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของบิดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเลขานุการส่วนตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มีหุ้นในบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 ให้ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี เป็นผู้มีชื่อถือครองแทนจำนวนหนึ่ง จำเลยที่ 2 มีเจตนาจะยกหุ้นของจำเลยที่ 2 ในบริษัทดังกล่าว ให้จำเลยที่ 1 จำนวน 4,500,000 หุ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีคำสั่งให้บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการซื้อขายหุ้นดังกล่าวให้แก่กัน เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2540 จำนวน 4,500,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 164 บาท รวมเป็นเงิน 738,000,000 บาท ตามสำเนาบัญชีรายละเอียดรายการซื้อขายและสำเนาใบสรุปซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) เอกสารหมายจ.14 ถึง จ.17 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระราคาแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งจ่ายเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน ชำระราคาค่าหุ้นจำนวนดังกล่าวผ่านบริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) และเมื่อบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) หักค่านายหน้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะชำระราคาค่าหุ้นให้แก่ น.ส.ดวงตา ผู้มีชื่อทางทะเบียนนั้น และเช็คดังกล่าวก็ถูกนำเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ที่ธนาคารเดิม ทั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการซื้อขายทุกขั้นตอนแทนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และน.ส.ดวงตา

    ต่อมาในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรปีภาษี 2540 ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้นำมูลค่าหุ้นที่ได้รับยกให้จำนวน 738,000,000 บาทดังกล่าว ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2540 เอกสารหมาย จ.27 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็มิได้นำค่าหุ้นจำนวน 738,000,000 บาทที่ได้รับจากบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) และเป็นเงินได้พึงประเมินไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เนื่องจากเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับการยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(17) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่า การข้อยกเว้นรัษฎากรข้อ 2 (23) หลังจากนั้นในปี 2543 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

    ในการนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ว่า หุ้นจำนวน 4,500,000 หุ้นดังกล่าว จำเลยที่ 2 แบ่งให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มิได้ซื้อแต่อย่างใด ตามสำเนาบันมึกคำให้การของพยานเอกสารหมาย จ.30 และ จ.31 ต่มาคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอัน เป็นเท็จ กรมสรรพากรจึงมีหนังสือเอกสารหมาย จ.28 ขอข้อมูลเรื่องนี้จากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไปประกอบพิจารณาจัดเก็บภาษีจากบุคคลดังกล่าวให้ถูกต้อง ในการนี้จำเลยที่ 1 เข้าให้การต่อ นาย ช.นันท์ เพ็ชญ์ไพศิษฐ์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 9 เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2544 ว่า ความจริงในเรื่องที่จำเลยที่ 2 ยกหุ้นดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.33 และในวันที่ 16 และ 30 ก.ค.2544 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ได้ให้การต่อจากนางเบญจา หลุยเจริญ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 9 มีสาระสำคัญทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 มีครอบครัวและมีฐานะที่มั่นคงทัดเทียมกับพี่น้อง จึงสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 แต่งงาน กับจะให้หุ้นในคดีนี้เป็นของขวัญ แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าทำงานทางการเมือง จำเป็นต้องจัดการเรื่องการบริหารให้เสร็จเสียก่อน จึงมาให้หุ้นดังกล่าวภายหลังเมื่อจำเลยที่ 1 มีบุตร และบุตรมีอายุจะครบ 1 ปี เป็นการให้เป็นของขวัญแก่ครอบครัวและบุตรของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.34 และ จ.37 ในที่สุด กรมสรรพากรพิจารณาแล้วสรุปว่า การรับโอนหุ้นของจำเลยที่ 1 จากจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2540 จำนวน 4,500,000 หุ้น มูลค่า 738,000,000 บาท เป็นการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วให้ยุติเรื่อง ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2549 แล้ว ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ คตส. มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาการโอนหุ้นดังกล่าวแล้วเห็นว่า หุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 1 ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ มิใช่การให้โดยการเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จึงแจ้งให้กรมสรรพากรเรียกเก็บเงินภาษีได้จากจำเลยที่ 1 และเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน 546,120,000 บาท ส่วนคดีอาญา คณะกรรมการตรวจสอบมีมติให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องจำเลยทั้ง สามเป็นคดีนี้ โดยถือเอาผลการตรวจสอบของคณะกรรมการการตรวจสอบเป็นการสอบสวนตามประมวลกฏหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ข้อ 9 วรรคสอง

    คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยทั้งสามยกขึ้นต่อสู้ประการแรกว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ฉบับที่ 30 เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 29 เพราะเป็นบทบัญญัติให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเป็นองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบ เฉพาะรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเพียงชุดเดียว มิได้มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป แต่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง เห็นว่า ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 5/2551 วินิจฉัยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ฉบับที่ 30 เป็นกฏหมายที่มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป และมิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรณีใดกรณีหนึ่งเป็นการเจาะจง จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไม่ว่าจะเป็นบทมาตราใด ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวง เป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 211 วรรคสาม และมาตรา 216 วรรคห้า คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อนี้อีกต่อไป และฟังว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

    ปัญหาข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสาม ประการต่อไปมีว่า การที่คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องคดีนี้ให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องร้อง นั้น ขัดต่อประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ข้อ 9 วรรคสอง ที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสรรพากรเสียก่อน เพื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรจะได้ดำเนินการมีคำขอให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดำเนินคดีอาญาต่อไป ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 แต่คณะกรรมการตรวจสอบไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนดังกล่าว การสอบสวนจึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ฉบับที่ 30 ข้อ 9 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า

    “ในกรณีที่คณะกรรมกาารตรวจสอบมีมติว่า บุคคลใดกระทำผิดกฏหมายและเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542 ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น”

    ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 7 พ.ย.2520 ข้อ 2 บัญญัติว่า

    “นับแต่วันที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดำเนินการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และเจ้าพนักงานตำรวจต่างมีอำนาจในการตรวจสอบการชำระภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร ทำให้พ่อค้าประชาชนมีภาระต้องชี้แจงแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย สมควรขจัดภาระดังกล่าวด้วยการให้เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรดำเนินการไปแต่ ฝ่ายเดียว...”

    เหตุผลข้างต้นแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติฯ ฉบับนี้ว่า ใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร และเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานทั้งสองในขณะนั้น เท่านั้น โดยกำหนดขอบอำนาจหน้าที่ ระหว่างเจ้าพนักงานดังกล่าวให้ชัดเจน กล่าวคือ ให้เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบการชำระภาษี ส่วนการดำเนินคดีอาญาให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการตามคำขอของเจ้าพนักงานตาม ประมวลรัษฎากรนั้น แต่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ซึ่งประกาศใช้บังคับภายหลัง ได้บัญญัติจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นโดยเฉพาะ และในข้อ 5 (4) ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ตรรวจสอบการกระทำของบุคคลใดๆ ที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรด้วย แต่เฉพาะกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐตามที่ระบุ จึงเป็นกฏหมายเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรเฉพาะ กรณีทั้งในข้อ 9 วรรคสอง ของประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับดังกล่าว ยังบัญญัติให้อำนาจและรับรองอำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นพิเศษต่างไปจาก อำนาจของเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรว่า เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า บุคคลใดกระทำผิดกฎหมาย ให้ส่งเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับ ผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น ซึ่งมีผลเท่ากับว่า หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ไม่จำต้องสอบสวนในเรื่องที่คณะกรรมการตรวจสอบได้ตรวจสอบนั้นแล้วอีก

    ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่คณะกรรมการตรวจสอบต้องส่งเรื่องไปให้ดำเนินการตาม กฎหมายตามที่ระบุในข้อ 9 วรรคสอง จึงหมายถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่จะต้องดำเนินการตามมติและผลการตรวจสอบของคณะ กรรมการตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป ถือว่ากฎหมายได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ และขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมกาารตรวจสอบไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อคดีนี้ คณะกรรมการตรวจสสอบได้ตรวจสอบแล้วมีมติว่า จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยงภาษีแล้วส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการเรียกเก็บภาษีจากจำเลย ที่ 1 ให้ครบถ้วนตามกฎหมาย ส่วนคดีอาญา เมื่อเห็นว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้วส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องร้องต่อไป จึงชอบแล้ว หาต้องดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 8 ด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

    ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร หรือไม่เห็นว่า ตามข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติข้างต้น จำเลยที่ 2 เจตนาจะยกหุ้นจำเลยที่ 2 ในบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ที่มีชื่อ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี เป็นผู้ถือครองแทน จำนวน 4,500,000 หุ้น มูลค่า 738,000,000 บาท ตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ได้ทำเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระราคาค่าหุ้นทั้งหมดแทนจำเลยที่ 1 และในที่สุด เงินค่าหุ้นจำนวนนั้นก็กลับไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และน.ส.ดวงตาโดยตลอดนั้น ในเบื้องต้นแม้การให้ผู้อื่นเป็นผู้ถือครองหุ้นแทนในตลาดหลักทรัพย์จะกระทำ ได้ และเจ้าของหุ้นที่แท้จริงสามารถขายหุ้นนั้นได้เองด้วยก็ตาม แต่คดีนี้เห็นได้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์การซื้อขายหุ้นตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว มิได้ซื้อขายกันจริง แต่เป็นการกระทำโดยลวงเพื่ออำพรางการให้ตามเจตนาที่แท้จริง จึงเป็นการกระทำโดยความเท็จ ปัญหาว่า การกระทำโดยความเท็จนั้น เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือไม่ เห็นว่าการซื้อขายหุ้นตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นการกระทำโดยความเท็จดังวินิจฉัยได้กระทำในตลาดหลักทรัพย์ จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ขายได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมูลหุ้นที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้ประจำปีภาษี 2540 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติ ส่วนมูลค่าหุ้นจำนวน 738,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ได้รับยกให้จากจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบรับว่า เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร เพียงแต่โต้แย้งกันว่า เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ หรือไม่เท่านั้น โดยโจทก์นำสืบว่า มูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการให้ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) และมิได้เป็นเงินได้ประเภทหนึ่งประเภทใด ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องนำมูลค่าหุ้นจำนวนที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภาษี 2540

    และด้วยเหตุนี้ จำเลยทั้งสามจึงได้อำพรางการให้ที่เป็นเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 ด้วยการทำเป็นซื้อขายอันเป็นความเท็จแทน เป็นอุบายเพื่อจะไม่มีภาระภาษีจากการซื้อและขาย ทั้งไม่ต้องนำมูลค่าหุ้น ที่ได้รับจากการให้ไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ดังกล่าวอีกด้วย จึงเป็นการร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากร ส่วนจำเลยทั้งสามต่อสู้ว่า มูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 รับให้มานั้น เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) และเป็นเงินได้ประเภทที่เข้าข้อยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาเงินได้ ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียบประเพณี จำเลยที่ 1 ไม่ต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี 2540 จึงไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร กรณีจึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่า มูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่จำเลยที่ 1 ผู้รับการให้ได้รับยกเว้นไม่ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี 2540 หรือไม่ เพราะหากได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่จำต้อง วินิจฉัยปัญหาว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือไม่อีกต่อไป

    ปัญหานี้ แม้ในเบื้องต้น โจทก์และจำเลยทั้งสามจะโต้แย้งกันว่า มูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับมาตามฟ้องถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) หรือมาตรา 40 (8) ก็ตาม แต่เห็นว่า ตามคำฟ้อง โจทก์บรรยายในตอนท้ายของฟ้องข้อ 2 ก.ว่า “...จำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ประจำปีภาษี 2540 พร้อมนางบุษบา ดามาพงศ์ ภรรยา ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรว่า ในปีภาษี 2540 จำเลยที่ 1 มีเงินได้จากการจ้างแรงงานและจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงาน และมีเงินได้ที่เป็นเงินปันผล เครดิตเงินปันผล รวมเป็นเงินได้สุทธิ ที่ต้องคำนวณภาษีเพียง 23,318,411.53 บาท อัตราภาษีร้อยละ 37 รวมเงินภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเป็นเงิน 8,129,812.27 บาท โดยมิได้นำค่าหุ้นดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินหรือเงินได้จำนวน 738,000,000 บาท มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา...” อันเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่นำมูลค่าหุ้นที่ได้รับให้ไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ที่กฎหมายถือว่า เป็นเงินได้ของจำเลยที่ 1 และที่เป็นเงินได้ของภรรยา เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2540 การกระทำของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากรเท่านั้น ฟ้องมิได้ระบุว่าเป็นภาษีอาการจากเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 ประเภทหรือวงเล็บใด

    ดังนั้น แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบว่า การรับให้ เป็นเงินได้พึงประเมินต่างประเภทกัน ก็เป็นการแตกต่างของความเห็นในประเภทของเงินได้พึงประเมินที่จำต้องพิจารณา ในชั้นจัดเก็บภาษี ทั้งผลของการแตกต่างที่มีตามกฎหมาย ก็ไม่ได้มีผลต่อการวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นเงินพึงประเมินประเภทใดก็ยังคงเป็นเงินได้อันพึงต้องเสีย ภาษีตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกัน ในชั้นนี้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อโต้แย้งนี้ คงมีปัญหาว่า มูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการให้มิได้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้อง นำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โจทก์มีนายกล้านรงค์ จันทิก มาเบิกความยืนยันว่า ขณะพยานเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. พยานได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้เป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. พยานกับคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้ร่วมกันสอบปากคำจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 2 แบ่งหุ้นให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมิได้มีการซื้อมาแต่อย่างใด และจำเลยที่ 1 ได้ช่วยเหลือและร่วมธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณกับจำเลยที่ 2 มาตลอดตั้งแต่ต้น รวมทั้งเป็นผู้กู้และผู้ค้ำประกันให้ด้วย โดยมีบันทึกคำให้การของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ เอกสารหมาย จ.30 ซึ่งมีลายชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้การ มาเป็นหลักฐานสนับสนุน เอกสารดังกล่าวมีสาะระสำคัญสอดคลัองกับคำเบิกความของพยาน เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 295 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งอาจมีผลทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณต้องพ้นจากตำแหน่งและต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น เวลาห้าปี จึงเป็นเรื่องสำคัญ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างมาก ย่อมต้องเตรียมการและระมัดระวังในเรื่องที่จะให้การ ทั้งเป็นการให้การในครั้งแรกๆ ขณะที่ยังมิได้มีปัญหาการตรวจสอบเรื่องภาระภาษีและดำเนินคดีนี้ น่าที่จำเลยที่ 1 จะให้การไปตามความจริง ประกอบกับคำให้การดังกล่าวมีข้อเท็จจริงโดยละเอียด ตั้งแต่ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของจำเลยที่ 1 กับครอบครัวของจำเลยที่ 2 การช่วยเหลืออุปการะกันมาโดยตลอด ตั้งแต่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังเป็นเด็กๆ เมื่อจำเลยที่ 2 กับพันตำรวจโททักษิณไปศึกษาที่ต่าง
    ประเทศ จำเลยที่ 1 ก็ลางานตามไปดูแลช่วยเหลือพร้อมกับศึกษาต่อ และเมื่อกลับมาก็ช่วยเหลือและสนับสนุนในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการ ค้าขายต่างๆ ของจำเลยที่ 2 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ จนต่างมีฐานะมั่นคง และในส่วนที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งหุ้นต่างๆ นั้น จำเลยที่ 1 ได้ให้การไว้โดยละเอียด โดยเฉพาะหุ้นจำนวนมากๆ เช่น หุ้นตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า จำเลยที่ 2 แบ่งให้โดยมิได้มีการซื้อมา แม้การสอบถามในครั้งนั้นจะไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการให้หุ้นคดีนี้ก็ตาม แต่หากเป็นการรับให้เนื่องในโอกาสสำคัญของจำเลยที่ 1 ดังที่อ้าง เป็นหุ้นที่มีมูลค่าจำนวนมาก ทั้งเป็นการรับให้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของพันตำรวจโททักษิณที่กำลังถูกตั้งข้อระแวง สงสัยและถูกตรวจสอบเกี่ยวกับการถือครองหุ้น จำเลยที่ 1 น่าจะให้การถึงเหคุผลที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้เป็นหลักฐานด้วย แต่จำเลยที่ 1 นอกจากจะมิได้ให้การถึงเหตุผลการให้ว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใดแล้วยังให้ การชัดเจนว่าเป็นการแบ่งให้โดยมิได้มีการซื้อมา ดังที่ปรากฎ ทั้งๆ ที่ได้ให้การในเรื่องอื่นๆ ไว้โดยละเอียด จึงเชื่อว่าที่จำเลยที่ 2 ให้หุ้นคดีนี้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการแบ่งให้ดังที่จำเลยที่ 1 ให้การ ซึ่งคำว่า “แบ่งให้” ดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่า เป็นการให้ที่มิใช่การให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสอย่างใด ส่วนที่ได้ความจากคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทียื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญและให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร ตามเอกสารหมาย จ.35 จ.38 จ.34 และจ.37 ตามลำดับ แตกต่างไปจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังวินิจฉัย ทำนองว่า จำเลยที่ 2 ยกหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 ตามธรรมจรรยาในฐานะที่ได้ร่วมก่อการและดำเนนิธุรกิจร่วมกัน รวมทั้งเป็นของขวัญที่จำเลยที่ 1 มีภริยาและบุตรนั้น ก็เป็นคำให้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและเอกสารประกอบถ้อยคำอันเป็นเท็จ และกรมสรรพากรได้เรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปตรวจสอบเพื่อจัดเก็บภาษีจากากรซื้อขายอันเป็นเท็จแล้ว คำให้การที่ให้เหตุผลของการให้หุ้นของจำเลยที่ 2 แตกต่างไปจากที่จำเลยที่ 1 เคยให้การไว้ในชั้นแรก จึงน่าจะเป็นการยกข้ออ้างขึ้นใหม่ให้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10) ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่กรมสรรพากรจะเรียกเก็บ คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์ดังวินิจฉัยไม่น่าเชื่อถือ ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า เพื่อให้พี่น้องมีฐานะทัดเทียมกัน จำเลยที่ 2 มีเจตนาจะยกให้หุ้นตามฟ้องแก่จำเลยที่ 1 เมื่อต้นปี พ.ศ.2535 ในโอกาสที่จำเลยที่ 1 แต่งงาน แต่ในช่วงนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังยุ่ง เนื่องจากจะเข้าสู่การเมืองและตั้งพรรคการเมืองใหม่ จำเป็นต้องจัดการเรื่องบริหารงานให้เสร็จสิ้นก่อน จึงมาให้ในภายหลังของบุตรจำเลยที่ 1 จะมีอายุครบ 1 ปีนั้นประการแรกเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สอดคร้องกับข้อเท็จจริงตามคำให้การของ จำเลยที่ 1 ที่รับฟังได้ดังวินิจฉัยว่า เป็นการแบ่งให้ ประการต่อมาที่อ้างว่าไม่สามารถโอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 1 ในโอกาสที่จำเลยที่ 1 แต่งงานได้เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณจจำเป็นต้องจัดการเรื่องการบริหารให้เสร็จสิ้นก่อนนั้น เห็นว่า ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าหุ้นตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 2 อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ่ของ น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี และจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ให้คำแนะนำและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 รวมทั้งหุ้นแทนโดยตลอด ดังนี้การโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อ น.ส.ดวงตาถือครองแทนจึงสามารถทำได้โดยจำเลยที่ 3 คนเดียว

    ดังนั้น หากจำเลยที่ 2 จะโอนหุ้นนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ในโอกาสที่จำเลยที่ 1 แต่งงานจริง ก็สามารถกระทำได้ในโอกาสนั้น โดยจำเลยที่ 2 เพียงแจ้งให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการเท่านั้น ซึ่งมิได้เป็นภาระหรือเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และการจัดการเรื่องการบริหารงานตามที่อ้างแต่อย่างใด แม้ในเรื่องนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่จำเลยที่ 2 นางสมทรง เครือไชย อาจำเลยที่ 2 และนางบุษบา ดามาพงศ์ ภริยาจำเลยที่ 1 มาเบิกความเป็นประจักษ์พยานสนับสนุนว่า ร่วมรู้เห็นและได้ยินจำเลยที่ 2 พูดขณะจำเลยที่ 1 กับนางบุษบาเข้าไปอวยพรวันเกิดของจำเลยที่ 2 ว่าจะให้หุ้นแก่จำเลยที่ 1 เป็นของขวัญแต่งงาน ก็ตาม แต่คำเบิกความดังกล่าวนอกจากจะขัดกับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้ว พยานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้างต้นเป็นพี่และญาติมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2อย่างมาก คำเบิกความน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีน้ำหนักน้อยพยานหลักฐานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในปัญหานี้ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ดังวินิจฉัยได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องมูลค่าหุ้นที่ให้และให้ตรงกับวันแต่งงานของจำเลย ที่ 1 หรือไม่อีกต่อไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้หุ้นตามฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โดยการแบ่งให้ มิได้เป็นการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากรตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างปัญหาต่อไปมีว่า การที่จำเลยที่ 1 รับแบ่งให้หุ้นตามฟ้องจำจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ จะถือว่าเป็นเงินได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ตามมาตรา 42(10) ข้างต้นหรือไม่ เห็นว่า ประมวลรัษฎากรมิได้ให้คำนิยามของคำว่า “อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา” ไว้ จึงต้องพิจารณาความหมายของถ้อยคำดังกล่าวตามพจนานุกรม ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามความหมายไว้ดังนี้ อุปการะ หมายความว่า ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน หน้าที่ หมายความว่า กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ ธรรมจรรยา หมายความว่า การประพฤติถูกธรรม

    ดังนั้น คำว่า “อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา” จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า การช่วยเหลือเกื้อกูล อุดหนุน ที่พึงกระทำโดยธรรม อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้ถ้อยคำที่แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์หาเจตนารมณ์จากที่ใดอีก ทั้งเป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นภาระภาษีอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคน จึงต้องตีความตามถ้อยคำโดยเคร่งครัด แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้มีความหมายที่จะจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ กับผู้รับการให้ และจำนวนที่ให้ก็ตาม แต่ตามถ้อยคำแล้ว ผู้รับการให้จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสภาพหรือสถานะที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เกื้อกูล อุดหนุนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ผู้ให้จึงมีหน้าที่โดยธรรมจรรยาที่จะอุปการะ แต่จำเลยที่ 1 นอกจากจะมิได้นำสืบให้เห็นว่าตนอยู่ในสภาพหรือสถานะเช่นว่าแล้ว ยังปรากฏจากบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.30 ว่าในขณะรับการให้นั้นจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และเป็นกรรมการในบริษัทกลุ่มชินฯ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่มีกิจการและฐานะมั่นคง นอกจากนี้ ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2540 ของจำเลยที่ 1 เอกสารหมายเลย จ.27 จำเลยที่ 1 แจ้งว่ามีเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ใน พ.ศ.2540 จำนวน 23,554,503.53 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็ฯจำนวนที่สูงอีกทั้งปรากฏจากบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.30 ที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. และคำให้การเอกสารหมาย จ.34 ที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี สำนักตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร ว่า ในปีเดียวกันนั้น ก่อนได้รับให้หุ้นคดีนี้ จำเลยที่ 1 มีหลักทรัพย์เฉพาะที่เป็นหุ้นจำนวนมาก ที่สำคัญๆ คือหุ้นในบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 2,347,395 หุ้น หุ้นในบริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด 23,000,000 หุ้น และหุ้นในบริษัท ชินวัตร อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง จำกัด 6,000,001 หุ้น แม้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ที่จำเลย ที่ 1 ได้รับหุ้นตามฟ้องและหลังจากนั้นต่อมา จำเลยที่ 1 ยังมีหุ้นในบริษัทต่างๆ เพิ่มอีกจำนวนมาก สถานภาพดังกล่าววิญญูชนย่อมเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่อยู่ในสภาพหรือสถานะที่ต้องการความช่วยเหลือเกื้อกูลอุดหนุน ตามความหมายของบทกฎหมายข้างต้นแต่อย่างใด แม้ฐานะจะยังไม่ทัดเทียมกับพี่น้องก็ตาม จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องอุปการะจำเลยที่ 1

    ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะมีทรัพย์สินมากเพียงใดและให้หุ้นคดีนี้เพียงต้องการให้จำเลยที่ 1 มีฐานะทัดเทียมพี่น้อง หรือจะให้ด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ที่เป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา คำพิพากษาศาลฎีกาและแนววินิจฉัยของกรมสรรพากรที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบนั้นผู้รับการให้ล้วนอยู่ในฐานะหรือสภาพหรือสถานะที่ควรได้รับการช่วย เหลือเกื้อกูล อุดหนุนทั้งสิ้น เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงไม่ตรงกับคดีนี้ โดยสรุปคดีฟังไม่ได้ว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับการให้จาก จำเลยที่ 2 เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

    เมื่อคดีรับฟังได้ว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้รับการให้จากจำเลยที่ 2 เป็นได้พึงประเมินที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2540 คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรนั้นหรือไม่ รวมทั้งค่าภาษีอากรแทนจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่าภาษีจากมูลค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ได้จากการรับให้มีจำนวนมากถึง 273,006,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 มิได้ดำเนินการโอนให้หุ้นตามฟ้องแก่จำเลยที่ 1 ตามเจตนาที่แท้จริง ทั้งๆ ที่การโอนให้หุ้นในตลาดหลักทรัพย์สามารถจะทำได้ โดยทั้งผู้ให้และผู้รับการให้ ไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างใด กล่าวคือไม่ต้องเสียทั้งค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทที่ดำเนิน การ ดังที่นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการโอนหุ้นตามฟ้อง ได้ให้การยืนยันชัดเจนต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.80 และชั้นพิจารณามิได้เบิกความปฏิเสธเอกสารฉบับนี้แต่จำเลยที่ 2 กลับกระทำโดยความเท็จเป็นการซื้อ ขายลวงในตลาดหลักทรัพย์อำพรางการให้ที่เป็นเจตนาที่แท้จริงนั้นและยอมเสีย ค่านายหน้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งฝ่ายผู้ซื้อ และผู้ขาย รวม 7,380,000 บาท ดังข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติ

    ศาลพิจารณาพฤติการณ์ณ์ดังกล่าวและเปรียบเทียบจำนวนเงินค่านายหน้า และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 เสียไปกับจำนวนเงินค่าภาษีอากรจากการรับให้ที่ถูกอำพรางไว้ดังกล่าวแล้ว กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยที่ 2 ว่า จงใจหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเงินได้จากการรับให้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำนวนมากและจำเลยที่ 2 ต้องเป็นผู้ชำระแทน จึงกระทำโดยวิธีมิให้จำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินจากการรับให้หุ้นตามฟ้อง ด้วยการทำเป็นการซื้อขายอำพรางการให้นั้น ดังที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษา 2540 ของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.27 สำหรับจำเลยที่ 3 ผู้ดำเนินการโอนหุ้นตามฟ้อง เป็นเลขานุการส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ดูแลแนะนำและดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นของจำเลยที่ 2 กับบุตรซึ่งมีจำนวนมากมานานประมาณ 10 ปีก่อนเกิดเหตุ ทั้งมีสามีเป็นพนักงานในบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ที่ทำการโอนหุ้นคดีนี้ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องมีความรู้ในเรื่องหุ้นและการโอนหุ้นเป็นอย่างดี อีกทั้งโดยหน้าที่ย่อมทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของจำเลยที่ 2 ประกอบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความรับว่าก่อนโอนหุ้นตามฟ้องได้ปรึกษาและให้คำแนะนำกันก่อนแล้ว ข้อเท็จจริงจึงเชื่อว่าจำเลยที่ 3 รู้กันกับจำเลยที่ 2 และร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรดังวินิจฉัย ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ทราบมาแต่แรกแล้วว่า จำเลยที่ 2 จะให้หุ้นตามฟ้องตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.30 ดังวินิจฉัย แต่เมื่อจำเลยที่ 3 มาขอเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ แจ้งว่าจะไปทำการซื้อขายหุ้นที่จะให้ดังกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับที่จำเลยที่ 2 เคยบอก แต่จำเลยที่ 1 ก็ให้ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ทักท้วงหรือสอบถามถึงเหตุผลในเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องการชำระค่าหุ้นจำนวนมากด้วย ผิดวิสัยผู้กระทำโดยสุจริต และต่อมาเมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2540 จำเลยที่ 1 ก็มิได้แสดงรายการเงินได้ส่วนนี้แต่อย่างใด พิเคราะห์ พฤติการณ์ดังกล่าวประกอบความสัมพันธ์ ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 1 ร่วมก่อตั้งและร่วมบริหารกิจการต่างๆ ของจำเลยที่ 2 กับ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอดและขณะที่รับการให้หุ้นคดีนี้ จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) นั้นเองด้วยแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้เห็นและร่วมกระทำการดังกล่าวข้างต้นกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกัน แม้จำเลยที่ 3 และที่ 3 จะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยื่นแบบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินได้พึงประเมินจากการรับให้หุ้นนั้นเป็นผลโดยตรงจากการร่วมกันกระทำ โดยความเท็จของจำเลยทั้งสามดังวินิจฉัย ทั้งตามกฎหมายการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็เป็นเรื่องเฉพาะ ตัวของจำเลยที่ 1 ผู้มีเงินได้เท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้อยู่แล้ว การที่มิได้เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบฯ จึงมิใช่ข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่ายื่นแบบฯ โดยมิได้แสดงรายการหุ้นที่ได้รับมา เพราะเข้าใจว่าเป็นของขวัญแต่งงานได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีก็ดี

    จำเลยที่ 2 นำสืบว่า ใช้วิธีซื้อขายและดำเนินการซื้อขายตามคำแนะนำของจำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 นำสืบว่า เข้าใจว่าเมื่อหุ้นอยู่ในชื่อของบุคคลอื่นในตลาดหลักทรัพย์ การโอนให้ต้องทำในรูปการซื้อขายเท่านั้นก็ดี ล้วนเป็นข้ออ้างที่ขัดต่อเหตุผลและพฤติกรรมของจำเลยทั้งสามดังที่วินิจฉัย จึงฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยทั้งสามนำสืบว่า หากจำเลยทั้งสามวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรจริง ก็สามารถจะกระทำได้โดยวิธีที่ง่ายกว่า เช่น โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 แล้วให้ จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระค่าหุ้นตามฟ้องโดยตรงนั้น เห็นว่าวิธีการดังกล่าวก็คงจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหลีกเลียงภาษีอากร แต่การที่จำเลยทั้งสามมิได้เลือกใช้วิธีดังกล่าวก็มิได้เป็นพิรุธถึงกับทำ ให้ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามฟ้อง ซึ่งตามรูปคดีจำเลยทั้งสามคงจะกระทำไปโดยไม่คาดคิดว่าสามีของจำเลยที่ 2 จะมีปัญหาและถูกตรวจสอบทรัพย์สินในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในเรื่องการถือครองหุ้นแล้วถูกตรวจสอบต่อเนื่องมาถึงการโอนหุ้นตาม ฟ้อง ที่จำเลยทั้งสามนำสืบว่า จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 เคยโอนหุ้นจากนางสาวดวงตาไปยัง น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ซึ่งเป็นผู้ถือครองหุ้นแทนจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน และด้วยวิธีซื้อขายเช่นเดียวกันกับคดีนี้ แต่คณะกรรมการตรวจสอบก็มิได้หยิบยกมาดำเนินคดีนั้น เห็นว่า เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการตรวจสอบที่จะตรวจสอบกรณีใด แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามยกขึ้นอ้างข้างต้นไม่ปรากฏว่า การซื้อขายระหว่างผู้ถือครองหุ้นแทนจำเลยที่ 2 นั้นเป็นการกระทำโดยความเท็จหรืออุบายอำพรางการให้ระหว่างกันเพื่อหลีก เลี่ยงการเสีภาษีอากรดังเช่นคดีนี้หรือไม่ จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ และที่นำสืบว่าคณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้น คณะกรรมการตรวจสอบจึงต้องเป็นบุคคลที่เป็นกลางเช่นเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่กรรมการตรวจสอบบางคนไม่มีความเป็นกลาง เคยมีพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณมาก่อนนั้น เห็นว่า จากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตามประกาศปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ควรที่คณะกรรรมการตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นกลาง และพฤติกรรมของคณะรรรมการตรวจสอบบางคนตามเอกสารและภาพถ่ายพยานจำเลยทั้งสาม ก็มีเหตุผลให้เข้าใจไปได้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบบางคนเหล่านั้นอาจจะไม่เป็นกลาง แต่เนื่องจากไม่มีบทบัญญติของกฎหมายกำหนดคุณสมบัติคณะกรรการตรวจสอบไว้เช่น คุณสมบัติของคณกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตามที่ปรากฏในสำนวนก็ไม่ได้ความว่าคณะ กรรมการตรวสอบคนใดกระทำอย่างใดที่ส่อไปในทางที่ไม่เป็นกลาง หรือกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลยทั้งสาม คณะกรรมการตรวจสอบมีจำนวนมากถึง 12 คน ทุกคนล้วนมีคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์และตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ไม่น่าที่คณะกรรมการตรวจสอบบางคนจะสามารถโน้มน้าวครอบงำให้คณะกรรมการตรวจ สอบทั้งหมดมาร่วมกันกระทำการใดที่ไม่เป็นกลางในการตรวจสอบคดีนี้ เพราะจะกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงาน ความเชื่อถือที่บุคคลเหล่านั้นมีอยู่ รวมทั้งเสี่ยงต่อการที่จะมีความผิดตามกฎหมายได้ ที่สำคัญพยานหลักฐานการกระทำผิดตามฟ้องที่คณะกรรมการตรวจสอบนำมาตรวจสอบเป็น พยานหลักฐานที่เกิดขึ้น และมีอยู่ก่อนที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งเป็นพยานหลักฐานที่จัดทำโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ศาลรัฐธรรมนูญและกรรมสรรพากร เกือบทั้งหมด ซึ่งจำเลยทั้งสามก็มิได้ปฎิเสธความมีอยู่ของพยานหลักฐานเหล่านั้น คณะกรรมการตรวจสอบเพียงรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวมาตรวจสอบแล้ว ทำความเห็นส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด พิจารณาอีกชั้นหนึ่งเท่านั้น คดีฟังไม่ได้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ในคดีนี้โดยไม่เป็นกลาง ที่จำเลยทั้งสามนำสืบว่า การที่คณะกรรมการตรวจสอบมีคำสั่งให้กรมสรรพากรประเมินภาษีจำเลยที่ 1 ใหม่ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการมุ่งที่จะเรียกเก็บภาษีจากจำเลยที่ 1 ให้ได้ โดยหาได้คำนึงถึงความถูกต้อง ชอบธรรมตามประมวลรัษฎากรไม่ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินภาษีของ จำเลยที่ 1 ดังกล่าวและคดีถึงที่สุด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาระภาษีแล้วตามเอกสารหมายเลข ล.92 นั้น เห็นว่าเอกสารจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงภาพถ่ายจากเว็บไซต์ อ้างข่าวจากแหล่งข่าวกรมสรรพากร ทั้งยังเป็นประเด็นเรื่องขาดอายุความประเมินภาษี ที่เจ้าหน้าที่ประเมินกระทำ ในภายหลังเหตุการณ์ตามฟ้อง มิใช่เรื่องการกระทำของคณะกรรมการตรวจสอบที่เกี่ยวกับภาระภาษีของจำเลยที่ 1 ที่ยังมีอยู่ในขณะมีการกระทำผิดตามฟ้อง และที่นำสืบว่า การที่คณะกรรมการตรวจสอบอายัดเงินที่ได้จากการขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งรวมหุ้นตามฟ้องด้วย ว่าเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงถึงความไม่สุจริตของคณะกรรมการตรวจสอบในการดำเนินคดี เนื่องจากหุ้นตามฟ้องจะเป็นของจำเลยที่ 1 และของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเวลาเดียวกันไม่ได้ ข้อกล่าวหาคดีนี้จึงไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสามได้นั้น เห็นว่าในชั้นนี้ ข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ แต่จากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบมาในคดีนี้ จำเลยที่ 1 และ 2 ยืนยันรับข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานโจทก์ว่าขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหุ้น ตามฟ้องและมีเจตนาจะให้หุ้นนั้นแก่จำเลยที่ 1 แต่ได้ทำเป็นซื้อขายแทนการชำระค่าหุ้น ให้ด้วยเงินของจำเลยที่ 2 เอง ส่วนจำเลยที่ 1 ก็ยืนยันสอดคล้องต่อเนื่องกันว่า รับให้หุ้นตามฟ้องของจำเลยที่ 2 ด้วยเจตนาที่จะถือครองเป็นของตนเอง ทั้งได้ไปแจ้งการถือครองหุ้นกับขอออกใบหลักทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ เป็นหลักฐานด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความเช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีภาระภาษีสำหรับมูลค่าหุ้นที่ได้รับการให้มานั้น แต่จำเลยทั้งสามกลับทำการซื้อขายหุ้นอันเป็นความเท็จแทนเพื่ออำพรางการให้ จึงเป็นการร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากร

    การกล่าวหาและดำเนินคดีนี้ คณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ได้ไม่สุจริตตามที่จำเลยทั้งสามอ้าง สำหรับข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามนอกจากนี้ ไม่นำให้ผลคดีเปลี่ยนไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัยโดยสรุป พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีเหตุผลและน้ำหนักมั่นคง พยานหลักฐานจำเลยทั้งสามไม่สามารถหักล้างได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำโดยความ เท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือ โดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกันหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามฟ้อง ปัญหาต่อไปมีว่า จำเลยที่ 1 และ 2 ร่วมกันแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือไม่ เห็นว่า จากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นที่ยุติดังกล่าวข้างต้น ภายหลังจากกรรมการ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสาร ประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จแล้ว กรมสรรพากร ได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.32 เชิญจำเลยที่ 1 แจ้งว่าประสงค์จะขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อหุ้นคดีนี้ ให้จำเลยที่ 1 ไปพบที่สำนักงานตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร และนำหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น การชำระเงินค่าหุ้นและอื่นๆ ไปประกอบการพิจารณาด้วย จำเลยที่ 1 จึงไปพบและให้การต่อ นาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีและนางเบญจา หลุยเจริญ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 9 ตามบันทึกคำให้การเอกสาร จ.33 และ จ.34 หลังจากนั้น จำเลยที่ 2 ไปพบและให้การต่อ นางเบญจา หลุยเจริญ ตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.37 นั้น เป็นกรณีกรมสรรพากรเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีเหตุอันควรเชื่อว่าการซื้อขายหุ้นตามฟ้องหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจึงหยิบยกการเสียภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ขณะยังอยู่ภายในกำหนดอายุความเรียกเอาค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่และชอบด้วยกฎหมาย จากข้อความในหนังสือเชิญดังกล่าวจำเลยที่ 1 และ 2 ย่อมทราบดีว่าเป็นการเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอากร จึงไปพบและให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย ปรากฏถ้อยคำตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.33 จ.34 และ จ.37 ตามลำดับ มีสาระสำคัญทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ต้องการให้จำเลยที่ 1 มีครอบครัวและมีฐานะที่มั่นคงทัดเทียมกับพี่น้องจึงสนันสนุนให้จำเลยที่ 1 แต่งงานกันจะให้หุ้นแก่จำเลยที่ 1 เป็นของขวัญวันแต่งงาน แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าทำงานทางการเมือง จึงมาให้ภายหลังเมื่อบุตรของจำเลยที่ 1 จะมีอายุครบ 1 ปี เป็นการให้ของขวัญแก่ครอบครัวและบุตรของจำเลยที่ 1 ขณะนี้จำเลยที่ 2 กับครอบครัวมีทรัพย์สินมากว่า 20,000,000,000 บาท จึงอยู่ในฐานะและวิสัยที่จะให้แก่บุคคลในครอบครัวได้ ทำนองว่าเป็นการให้ที่เป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งหากคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้างต้นเป็นความจริง มูลค่าหุ้นที่ได้รับจากการให้จะเป็นเงินได้ประเภทที่จำเลยที่ 1 ผู้รับให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวล รัษฎากร มาตรา 42(10) แต่ปรากฏว่าคำให้การนั้น ไม่เป็นความจริงดังที่วินิจฉัยข้างต้น แม้คำให้การดังกล่าวจะสอดคล้องตรงกันกับคำให้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 1 และ 2 ก็เป็นการร่วมกันยกข้อที่ไม่เป็นความจริงขึ้นมาอ้างเพื่อให้เข้าข้อยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีกำลังตรวจสอบ เป็นเหตุให้กรมสรรพากรหลงเชื่อไม่เรียกเก็บภาษีอากรจากจำเลยที่ 1 และให้ยุติเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบว่า กรณีข้างต้นเป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 อีกกรณีหนึ่ง จึงต้องมีการออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 ผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อน แต่กรณีนี้ไม่ได้ออกหมายเรียก เป็นเพียงออกหนังสือเชิญเท่านั้น ทำนองว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากคำให้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ไว้จะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่า แม้จะเป็นการประเมินตามมาตรา 19 ดังที่อ้าง แต่บทมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องมีการไต่สวนผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน รวมทั้งหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการ หรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ จึงได้ให้อำนาจพนักงานประเมินที่จะออกหมายเรียกในกรณีต่างๆ ไว้ในมาตรา 19 สำหรับคดีนี้ สำนักตรวจสอบภาษีได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.32 เชิญจำเลยที่ 1 ไปพบพร้อมนำหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไปพบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีตามหนังสือนั้น โดยมิได้โต้แย้งว่า ไม่ได้ออกหมายเรียก ทั้งยังได้ให้การในประเด็นการซื้อขายหุ้นตามฟ้อง ตามที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีถาม กรณีถือได้ว่ามีการไต่สวนตามมาตรา 19 ข้างต้นแล้ว แม้จะไม่มิเอกสารหมายเรียกจำเลยที่ 1 ก็ตาม การสอบคำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด พยานหลักฐานโจทก์ในปัญหานี้มั่นคง พยานหลักฐานจำเลยทั้งสามไม่สามารถหักล้างได้ เช่นเดียวกัน ข้อเท็จจริงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามฟ้อง

    จำเลย ทั้งสามเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะกระทำผิดฐานให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี อากร จำเลยที่ 2 เป็นกริยาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับผู้บริหารประเทศ จำเลยทั้งสามจึงนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่วๆ ไปแล้ว ยังควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีสมฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วย แต่จำเลยทั้งสามกลับร่วมกันกระทำการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและระบบภาษี ทั้งๆ ที่จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมาย และจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนในที่สุดนั้น เทียบไม่ได้กับจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวมีอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 จะชำระภาษีอากรไปตามกฎหมายเช่นพลเมืองดีทุกคน จึงมิได้มีผลกระทำต่อฐานะของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามจึงร้ายแรง

    พิพากษา ว่า จำเลยทั้งสาม มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ฐานร่วมกันโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 2 ปี ฐานโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจ ร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 1 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 3 ปี สำหรับคำขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษที่จำเลยที่ 2 ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาแล้วหรือไม่อย่างไร จึงไม่อาจนับโทษจำเลยที่ 2 ต่อตามที่ขอได้ ให้ยกคำขอส่วนนี้


    คลิกที่นี่ เพื่อฟัง ศาลอ่านคำพิพากษาคดี “เลี่ยงภาษีหุ้นชินคอร์ป”

    คลิก! ชมวิดีโอคลิปศาลอ่านคำพิพากษาคดี “เลี่ยงภาษีหุ้นชินคอร์ป” (56K)
    |(256K)

    from : MGR online