เพื่อชีวิต..ใคร???

วันพุธ, พฤษภาคม 25, 2548

ทุจริตกล้ายางพารา -- โกงยกกำลัง 3

กรณีทุจริตกล้ายางพารามีอะไรกันนักหนาหรือ “ผู้จัดการรายวัน” ถึงให้ความสำคัญเป็นทั้งข่าวนำหน้า 1 และรายงานพิเศษต ่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ ๆ มี Hidden Agenda อย่างไรหรือ วันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขออนุญาตใช้เนื้อที่ตรงนี้จับเข่าคุยกับผู้อ่านเล่าให้ฟังด้วยภาษาชาวบ้าน

กรณีนี้ อย่าว่าแต่จะต้องเร่งรวมพลังเฉดหัวนักการเมืองที่รับผิดชอบให้พ้นออกจากการร่วมบริหารประเทศและดำเนินคดีเลย

มันน่านำโทษานุโทษในอดีต “กุดหัวเจ็ดชั่วโคตร” กลับมาใช้เสียด้วยซ้ำ !


เพราะมันเป็นการโกงกันอย่างบูรณ าการ หรือบูรณาโกง ที่แสดงให้เห็นภาพของคำ “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” อย่างเป็นรูปธรรม

เพราะมันเป็นการโกงอย่างแฮ็ตทริ ก หรือโกงยกกำลัง 3 ที่จะให้ผล 3 ชั้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า

...โกงเกษตรกรคนยากคนจน

...ที่เสมือนเป็นการฆ่าให้ตายในวันนี้ ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะไปตายในอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า

...และยังจะเป็นการทำลายรายได้ของชาติจากการส่งออก


มาไล่กันพิจารณาทีละขั้นตอน

...................

เวิลด์แบงก์ให้คะแนนการจัดการกับการทุจริตของประเทศไทย 49 จาก 100

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่พอใจนสพ.มติชนที่พาดหัวแบบไม่ช่วยรัฐบาล แสดงธาตุแท้อารมณ์ดั้งเดิมที่เป็นเจ้าเรือน ถึงกับเอ่ยชื่อประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ทวงบุญคุณหนังสือพิมพ์ อาจจะเป็นเพราะประจวบเหมาะกับในระยะนี้นับตั้งแต่ได้ชัยชนะ 377 เสียงกลับมีแต่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องต่าง ๆ มาเป็นระยะ ๆ

น ่าสังเกตไหมว่า ปี 2548 นี้ผ่านไปแค่ 5 เดือน ถ้าไม่นับกรณีสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว มีเรื่องของการทุจริตในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสียเป็นส่วนใหญ่

กระทรวงเกษตรฯจัดเป็นกระทรวงเกรด A ของบรรดานักการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร

วิธีการที่นักการเมืองเขาจำแนกแบ่งเกรดของกระทรวงทบวงกรมเขาดูกันที่ งบประมาณ, อำนาจอิทธิพล และช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ ผสมผสานกันไป

อย่างกรณีกระทรวงศึกษาธิการ ถึงแม้ว่าจะได้รับจัดสรรงบประมาณมากกว่ากระทรวงอื่น ๆ แต่เพราะเป็นกระทรวงใหญ่ รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ ไม่มีรายจ่ายประเภท “จัดซื้อ, จัดจ้าง” มาก ก็เลยเป็นกระทรวงเกรด B

งบประมาณที่กระทรวงเกษตรฯได้ไปในปีงบประมาณ 2548 คือ 52,409.9 ล้านบาท

มากเป็นลำดับ 6


รองจากกระทรวงศึกษาธิการ (1) กระทรวงการคลัง (2) กระทรวงมหาดไทย (3) กระทรวงกลาโหม (4) และกระทรวงคมนาคม (5)

ช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ในกระทรวงเกษตรฯเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง, การก่อสร้าง และทรัพยากรธรรมชาติ

ในยุคก่อน คนส่วนใหญ่มักจะมองผลประโยชน์ของกระทรวงเกษตรฯ เฉพาะ 2 กรมหลัก ๆ คือกรมป่าไม้และกรมชลประทาน แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะเชื้อร้ายของการทุจริต การแสวงหาประโยชน์ การละเมิดหลักธรรมาภิบาล ลามลึกแผ่ขยายครอบคลุมกรมอื่น ๆ ของกระทรวงนี้ไปแทบทั้งหมด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมที่เกี่ยวกับวิชาการ !

ลำพังการคอร์รัปชั่น เกิดขึ้นที่ไหนหรือที่กระทรวงใด มันก็เลวร้ายอยู่แล้ว แต่หากเกิดขึ้นในกระทรวงเกษตรฯ ความเลวร้ายดังกล่าวจะยิ่งทวีขึ้นเป็น 2 เท่า

เ พราะว่ามันเป็นการทำมาหากินบนน้ำตาและความทุกข์ยากของประชาชนคนชั้นล่าง ซึ่งพวกเขาแทบจะไม่มีโอกาสในทางสังคมเทียบเท่าคนในกลุ่มอื่น ๆ อยู่แล้ว

ช่องทางการทุจริตในกระทรวงเกษตรฯส่วนใ หญ่ ตั้งเรื่องขึ้นมาจากเหตุความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน




ข่าวความอื้อฉาวในโครงการส่งเสริมปลูกยางพาราล้านไร่ ของกระทรวงเกษตรฯที่ถูกเปิดเผยขึ้นมา เพราะหลักฐานประจักษ์ชัดจากผลเสียหายของกล้ายางที่เกษตรกรนำไปปลูกตายไปกว่า ครึ่ง บางรายถึงกับตายยกแปลง ได้รับคำอธิบายง่าย ๆ จากกรมวิชาการเกษตร และนักการเมืองจอมโปรเจกต์ที่ดูแลกรมนี้ในทางปฏิบัติต่อเนื่องมา 8 ปี ว่าเป็นเพราะภัยแล้ง และเกษตรกรดูแลไม่ดี ขณะที่เครือซีพีที่ชนะประมูลส่งมอบกล้ายางก็ออกมากล่าวโทษระบบชลประทานของปร ะเทศที่ไม่ได้เรื่อง จึงทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น

แก้ตัวกันไปน้ำขุ่น ๆ

ใจบาปหยาบช้าถึงขั้นโทษเทวดาฟ้าดินไปโน่น

พอเริ่มจำนนต่อหลักฐาน ก็คิดอ่านจะแก้ผ้าเอาหน้ารอดกันง่าย ๆ ด้วยการแก้ระเบียบโน่นนิดนี่หน่อย และจะตั้งนักวิชาการท้องถิ่นเข้ามาเป็นกรรมการตรวจรับกล้ายางในแต่ละงวดด้วย

อ ยากให้นักวิชาการท้องถิ่นอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้ดี ๆ แล้วเร่งถอยออกไปห่าง ๆ อย่ามารับบท “พายเรือให้โจรนั่ง” หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง...

อย่ามาบำเพ็ญตนเป็น “ชุมพล ศิลปอาชา” ให้กับ “สุชน ชาลีเครือ” เลย


(ประเด็นหลังนี้ – โปรดติดตามอ่านในต้นสัปดาห์หน้า)

........................

โครงการส่งเสริมปลูกยางพารา 1 ล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีดำริริเริ่มตามข้อเสนอของนักการเมืองจอมโปรเจกต์นั้น เป็นโครงการที่มีหลักการดี ที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ยากไร้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการขยายพื้นที่ปลูกยางในภาคเหนือและภาคอีสา น เมื่อเดือนมีนาคม 2546 ในโอกาสที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่คณะกรรมการบริหารและคณะผู้บริ หารรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบงานด้านยาง 2 หน่วยงาน

ส.ก.ย. -- สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

อ.ส.ย. -- องค์การสวนยาง


หากดูต้นเรื่อง ดูการมอบนโยบายแล้ว หน่วยงานหลักที่ควรจะเข้ามาทำโครงการนี้ เพราะมีความเชี่ยวชาญและรับผิดชอบงานด้านยางโดยตรง ก็ควรจะเป็นส.ก.ย. หรืออ.ส.ย. เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางดีกระจายครอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเท ศ

แต่กรมวิชาการเกษตรที่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางพาราอยู่เพียงหยิบมือเดียวกลับเป็นผู้เข้ามารับผิดชอบ

โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่ง ปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 พื้นที่ปลูกยาง 1 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่

กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบทั้ง

- การกำหนดเขตพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม

- การตรวจสอบ ควบคุม และจัดหาพันธุ์ยาง


ส.ก.ย.รับผิดชอบการฝึกอบรม การควบคุม กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปลูกยางของโครงการ

และให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบจัดหาสินเชื่อ

คำถามก็คือ ทำไมถึงต้องเป็นกรมวิชาการเกษตร ?

เป็นเพราะข้าราชการกรมวิชาการเกษตร สั่งขวาหันซ้ายหันได้ – ใช่ไหม ?

เพราะถ้าเป็น ส.ก.ย. ก็จะมีคนนอกเข้ามาร่วมเป็นบอร์ดอยู่ด้วย จะสั่งซ้ายหันขวาหันไม่ได้ – ใช่ไหม ?


ตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งเรื่องตั้งโครงการของนักการเมืองมาก เพราะเป็นตัวชี้ว่าโครงการนั้น ๆ จะเก็บเกี่ยวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ ข้อมูลความลับต่าง ๆ จะหลุดรั่วไปถึงฝ่ายค้านหรือสื่อหรือไม่ ทำให้เสียจังหวะหรือไม่

เหตุที่ต้องตั้งคำถามว่าทำไมกรมวิชาการเกษตรต้องเข้ามาทำโครงการ ก็เพราะถ้าไปดูพันธกิจหรือหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า

“บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยมียุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนาพืช การบริการวิชาการด้านพืช”

อันนี้ชัดเจน ไปทบทวนตรวจสอบบทบาทหน้าที่ของกรมนี้ได้

กรมวิชาการเกษตรไม่ได้มีหน้าที่จัดหาจัดซื้อพันธุ์พืชหรือส่งเสริมด้านพืช

เพราะกรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรงก็คือ กรมส่งเสริมการเกษตร


โครงการจัดซื้อจัดหานี่แหละที่เป็นช่องทางสำคัญในการคอร์รัปชั่น รับสินบาทคาดสินบน ชักเปอร์เซ็นต์ เอกชนที่ผูกขาดทำมาหากินกันอยู่ก็จะได้ขายของที่ซื้อมาถูก ๆ แล้วมาขายต่อให้รัฐแพง ๆ และที่ผ่านมากรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรง ก็เคยอื้อฉาวสุด ๆ

ที่สังคมไทยจำกันได้แม่น รู้จักกันดี ก็กรณี “ผักสวนครัวรั้วกินได้” เมื่อปี 2541

กระทั่งมีอยู่พักหนึ่งที่กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายห้ามไม่ให้หน่วยงานขอ งรัฐเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิต แต่ตอนนี้ก็คงเลิกกันไปแล้ว และมีโครงการจัดซื้อจัดหาแจกปัจจัยการผลิต เพื่อทำมาหากินกันเหมือนเคย

โครงการยางล้านไร่ ก็ไม่ต่างไปจากโครงการส่งเสริมอื่นๆ

เข้าสูตรสำเร็จ

นักการเมืองตั้งโครงการ -- ข้าราชการเป็นคนชง – ล็อกสเปกเอาเอกชนขาประจำเข้ามาเป็นผู้ได้รับงานไป


เมื่อได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่ปลูกยางได้ในเขต อีสานและเหนือ นักการเมืองคนโปรดก็กลับมาทำการบ้านเสนอเรื่องผ่านตามขั้นตอนเข้าสู่การพิจา รณาของคณะรัฐมนตรี โดยยกแม่น้ำทั้งห้าให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

โดยเฉพาะผลดีที่จะเกษตรกรจะสามารถลืมตาอ้าปากได้เพราะโครงการนี้ถึง 142,850 รายที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ครอบครัวละ 20,000 – 30,000 กว่าบาทต่อปี

จะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและแรงงานภาคเกษตรไม่น้อยกว่า 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานกรีดยางจะมีรายได้ดี สม่ำเสมอตลอดทั้งปี

นอกจากนั้น รัฐบาลยังจะได้ผลประโยชน์จากผลผลิตยางของประเทศที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่ายาง 7,700 ล้านบาท/ปี และหากนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออก จะมีรายได้จากการส่งออก 38,500 ล้านบาท

สภาพแวดล้อมก็จะดีขึ้นด้วย

ฟังดูดี และมีความเป็นไปได้ เพราะเวลานี้ราคายางก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ยางเทียมที่เป็นบายโปรดักส์จากน้ำมันสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมั นที่มีแต่จะพุ่งทะยานตามดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นแต่ซัปพลายน้อยลง

ฟังกันเคลิ้มจนกระทั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีไม่มีใครตั้งคำถามเลยว่า เหตุใดกระทรวงเกษตรฯจึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ซึ่งไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่กระทรวงเกษตรฯเองมีหน่วยงานดูแลเรื่องยางโดยเฉพาะอยู่ถึง 2 หน่วย คือ ส.ก.ย. กับ อ.ส.ย.

ถามว่าการตั้งเรื่องอย่างนี้ – คอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายหรือไม่ ?

แต่ไม่ว่าคำตอบจะออกมาอย่างไร มติครม.เห็นชอบให้ดำเนินโครงการนี้ตามที่กระทรวงเกษตรฯเสนอ ก็นับเป็นการยืมมือครม.มาการันตีความถูกต้อง โครงการดำเนินไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็นตั้งแต่ต้น

เสมือนการปฏิบัติภารกิจที่ผิดฝาผิดตัว ซึ่งมีแต่จะสร้างปัญหาตามมา


เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว กรมวิชาการเกษตรก็ดำเนินเรื่องต่อด้วยการเปิดประมูลหาเอกชนมาผลิตยางชำถุง

ถึงขั้นนี้แล้วหากต้องการล็อกสเปกเอาเอกชนที่รับงานผูกกันเป็นขาประจำก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ออก TOR หรือข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าประกวดราคาที่สามารถกีดกันผู้ร่วมประมูลรายอ ื่น ๆ อย่างเช่นเรื่องพันธุ์ยาง ส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่ในบ้านเราก็จะเป็นเกษตรกรรายเล็กรายย่อยที่รวมตัวกันเป ็นสหกรณ์ หรือทำเดี่ยว ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ค่อยมี ก็ออกว่าต้องการยางชำถุงจำนวน 90 ล้านต้น โดยให้บริษัทเดียวรับเหมาไปทำ แล้วส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ แทนที่จะกระจายไปยังพื้นที่และเปิดโอกาสให้รายเล็กรายย่อยที่เขามีประสบการณ ์ทำพันธุ์ขายอยู่ก่อน

เหมือนกรณีลำไยอบแห้ง ที่ว่าจ้างให้บริษัทปอเฮง รับอบแห้งรายเดียว ส่วนรายย่อยถ้าอยากทำก็ต้องมาเป็นลูกช่วง ทำตัวเป็นโบรกเกอร์กินส่วนต่าง

นอกจากนั้น ก็กำหนดให้ผู้เข้าประมูลวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาสูงถึง 72 ล้านบาท เพราะมูลค่าโครงการสูงถึง 1,400 กว่าล้าน

การกำหนด TOR อย่างนี้รายเล็กรายย่อยไม่มีโอกาสอยู่แล้ว

TOR ที่ออกมาจึงล็อกสเปกเอาไว้บางจุด แต่บางจุดต้องเปิดเอาไว้เพื่อให้เอกชนที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องยางเข้ามาร่วมได้

ทำกันถึงขนาดว่า ใน TOR ของโครงการที่ต้องส่งมอบพันธุ์ยางถึง 90 ล้านต้นนี้ไม่ได้ระบุแม้แต่น้อยว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องมีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญด้านยางพารามาก่ อน และต้องมีแปลงกิ่งพันธุ์ยาง แปลงกล้ายางของตนเองด้วย มีกำหนดไว้เพียงกว้าง ๆ ว่า เป็นผู้ที่มีอาชีพจำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี


คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดหาพันธุ์ ระบุเพียงว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือห ลายแปลงรวมกันไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรมวิ ชาการเกษตร แปลงเดียวหรือหลายแปลงรวมกัน ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้น

TOR ไม่ได้ระบุว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงของตนเอง ขอเพียงให้มีจะรวบรวมแล้วเช่าแปลงมาจากบุคคลอื่นก็ได้

นั่นคือการล็อกสเปกในจุดที่คู่แ ข่งขันรายอื่นจะเข้ามาสู้ได้ และเปิดกว้างสำหรับข้อที่เป็นจุดอ่อนของบริษัทคู่ขาประจำ

ถัดจากนั้น ก็เตรียมการในขั้นที่ 2 คือ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งจะต้องเป็น “เด็กในคาถา” สั่งซ้ายหันขวาหันได้ เก็บกำความลับได้

นั่นคือกุญแจที่สำคัญและโครงการปลูกยางล้านไร่

ปรากฏผลว่า – เครือซีพีชนะประมูล ทั้ง ๆ ที่ปรากฏหลักฐานชัดว่า การเสนอแปลงกิ่งตายางและแปลงกล้ายางของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าประจำปี 2546 ไม่ถูกต้องตรงกัน ถือเป็นการแจ้งเท็จ ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ TOR กำหนด

แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการ ประกวดราคา เป็น “เด็กในคาถา” จะหาใครมาตรวจสอบรายละเอียดในจุดนี้

คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาตรวจสอบพบเรื่องนี้ และได้ติดต่อสอบถามไปยังนักการเมืองที่ดูแล

มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแปลงกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง

แต่ก็มีอันต้องเกิดเหตุเกี่ยวกับตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของท่านเสียก่อน


อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกมาการันตีในการแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า มีการลงไปตรวจสอบแปลงยางตามที่บริษัทเสนอเข้ามาทุกแปลง แต่ไม่กล้าแสดงเอกสารหลักฐานใด ๆ ต่อสาธารณะว่ามีการเข้าไปตรวจสอบจริงหรือไม่

ก ็ไม่รู้ว่าวันนี้ “หลักฐาน” การตรวจสอบของสตง.ในยุคคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาจะมีอันสลายหายสูญไปหลังถูกขบวนกังฉินยึดอำนาจอย่างแยบยลหรือไม่

ประเด็นนี้ต้องสะสางให้กระจ่าง เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้

เพราะเมื่อบริษัทที่ชนะประมูล ไม่มีแปลงกิ่งตาพันธุ์ ไม่มีแปลงกล้ายางดังที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติ ก็ทำให้ยางชำถุงที่จะส่งมอบให้แก่เกษตรกรนั้นไม่เพียงพอ ไม่ได้คุณภาพ ตามสัญญาที่ตกลงกัน

และยังเป็นที่มาของการกว้านซื้อยางที่เอา “กิ่งตาสอย” ที่สอยจากยางต้นแก่แล้วมาติดตาส่งมอบปะปนเข้ามาในโครงการ

ซึ่งจะเห็นผลอีก 7 ปีข้างหน้าเมื่อถึงเวลากรีดแล้วจะมีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยางเลย


ยางที่มีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยาง – ก็ไม่ต่างกับ “วัวพลาสติก” ในอดีต

การทำแบบนี้ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา

.........................

ย้อนกลับมาดูเรื่องสัญญาที่กรมว ิชาการเกษตรทำกับเครือซีพี จะเห็นว่ากรมวิชาการเกษตรเอื้ออาทรต่อซีพีอย่างมาก

เอื้ออาทรถึงขั้นที่ว่า -- ทำผิดหลักวิชาการการปลูกยางที่กรมวิชาการเกษตรฯให้คำแนะนำต่อเกษตรกรผู้ปลูก ยางพาราเลยก็ว่าได้

นั่นคือ หลักวิชาการแนะนำว่าควรปลูกยางในต้นฤดูฝน หมายถึงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่อให้ยางสามารถยืนต้นได้ในช่วงฤดูฝน คือถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนเดือนสิงหาคมไม่ควรปลูกแล้ว เพราะเสี่ยงกับฝนทิ้งช่วงและหมดฝน เพราะภาคอีสานกับภาคเหนือไม่เหมือนกับภาคใต้ที่เดือนสิงหาคมก็ยังมีฝนอยู่ จะใช้เกณฑ์เดียวกันไม่ได้ เพราะสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศต่างกัน

แต่สัญญาที่กรมวิชาการเกษตรทำกับซีพีเป็นอย่างไร – มาดูกัน...

ใ นปีแรก 2547 กำหนดส่งมอบ 4 งวด คือ 31 พ.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น, 30 มิ.ย. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น, 31 ก.ค. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น และ 31 ส.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น

ปีต่อ ๆ ไปก็กำหนดส่งมอบอย่างนี้เหมือนกัน


เมื่อถูกจับได้ไล่ทัน ก็เพิ่งบอกว่าสั่งการให้เปลี่ยนแปลงแล้ว

สัญญาอย่างนี้คนที่อยู่ในแวดวงยางเขาตั้งคำถามกันทั้งนั้นแหละ

เ ดือนสิงหาคม กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้บริษัทส่งมอบได้อย่างไร เพราะถ้ายึดตามหลักวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรเองแนะนำว่าต้องปลูกต้นฝนแล้ว สัญญาก็ควรจะกำหนดให้ต้องส่งยางชำถุงถึงมือเกษตรกรให้หมดภายในเดือนมิถุนายน แล้ว

เพราะเกษตรกรรับยางไปปลูกช่วงสิงหาคม เขตอีสานและเหนือ ฝนทิ้งช่วงหรือหมดฝนแล้ว

ไม่เหมือนภาคใต้

ก็จะอ้างภัยแล้งเหมือนกับที่กำลังอ้างกันอยู่เวลานี้

..........................

ไ อ้การใช้คนผิดประเภท ปลูกพืชผิดถิ่น เอาประสบการณ์จากภาคหนึ่งไปใช้อีกภาคหนึ่ง – มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้สักเล็กน้อย

น ักการเมืองจอมโปรเจกต์บางคนสมัยเมื่อได้รับมอบหมายจากท่านผู้นำให้เป็นประธา นคณะกรรมการติดตามการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พี่ท่านก็ขยันเสียเหลือเกิน

สร้างงาน สร้างรายได้ ตระเวน “ขุดบ่อน้ำ” กันยกใหญ่


โดยเอาประสบการณ์การขุดบ่อน้ำในภาคอีสานไปใช้ที่ภาคใต้

ปรากฏว่าได้บ่อ แต่ไม่มีน้ำ

ชาวบ้านที่นั่นเขาเรียกบ่อแปลกประหลาดที่เกิดจากวิกฤตความรุนแรงเหล่านี้ว่า...

“บ่อเขมร”

ท่านผู้นำอาจจะเถียงว่าคนหนังสือพิมพ์ กล่าวร้าย ท่านไปตรวจราชการทีไรก็เห็นน้ำเต็มบ่อทุกที

ก ็จะไม่เต็มอย่างไรล่ะ ในเมื่อคืนก่อนที่ท่านผู้นำจะลงไปตรวจราชการ นักการเมืองคนขยันก็ขอแรงข้าราชการทหารตำรวจช่วยกันบรรทุกน้ำไปใส่ให้เต็มทุ กบ่อ


...................

ไม่เพียงแค่เอื้ออาทรให้ส่งมอบยางถึงเดือนสิงหาคมเท่านั้น กรมวิชาการเกษตรยังเปิดช่องให้เครือซีพีส่งมอบยางให้แก่เกษตรกรในเดือนกันยา ยนอีกด้วย โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของเกษตรกร และเครือซีพีก็ไม่ขัดข้องที่จะส่งให้ และพร้อมรับผิดชอบหากยางมีปัญหาเสียหายล้มตาย ส่วนกรมวิชาการเกษตรไม่ขอรับผิดชอบใด ๆ เพราะเป็นความสมัครใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย

ค วามจริงแล้ว โดยบทบาทหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะอ้างความต้องการของเกษตรกรที่สมัครใจจะรับยางไปเองไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรต้องไม่ให้มีการส่งยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนโดยเด็ดขาด

เพราะรับไปปลูกมีโอกาสรอดยาก ลงทุนสูญเปล่า

เรื่องนี้หน่วยราชการจะลอยตัวไม่รับผิดชอบไม่ได้


การอนุญาตให้เครือซีพีส่งมอบยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนนี้ ทางผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางเขาเชื่อว่าหน่วยราชการต้องการช่วยเหลือซีพีให้ไม่ ต้องรับภาระดูแลรับผิดชอบยางที่ส่งล่าช้า ส่งไม่ทัน

เพราะหากเก็บไว้ข้ามปีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา

เป็นการโยนภาระไปให้แก่เกษตรกรตัดสินใจเอาเองว่าจะทำอย่างไร

จะเสี่ยงปลูก ซึ่งมีโอกาสตายสูงถ้าไม่ลงทุนรดน้ำ

หรือจะชำไว้ต่อรอปลูกปีหน้า

ทำไมเกษตรกรบางส่วนถึงจำใจรับเอายางถึงแม้จะล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน ซึ่งไม่มีฝนแล้ว

ก็เป็นเพราะพวกเขาขุดหลุมรอไว้แล้วตามเงื่อนไขการเข้าโครงการ เมื่อขุดหลุมแล้ว รื้อถอนพืชที่ปลูกไว้ออกไปแล้ว ถึงยางมาช้าก็ต้องเอา – ไม่มีทางเลือก


ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การชดเชย ชดใช้ ต้องไม่ใช่เฉพาะพันธุ์ยาง -- ต้องคิดค่าไถ ค่าขุดหลุมใหม่ รวมทั้งค่าเสียโอกาสเสียเวลาที่ผ่านไปโดยไม่มีรายได้จากแปลงที่ดินที่เตรียม สำหรับปลูกยางตั้งแต่ต้นฝนแล้ว แต่เพิ่งมาได้ยางเมื่อหมดฝน

แต่ก็เปล่า

ทำไมไม่เอื้ออาทรกับคนยากคนจนบ้าง

โ ครงการนี้ บรรดาลูกช่วงที่ผลิตยางชำถุงส่งให้เครือซีพีในราคา 11 – 12 บาท ขณะที่ราคาที่เครือซีพีทำสัญญาตกลงกับกรมวิชาการเกษตร คือ 15.70 บาท

กินส่วนต่างประมาณ 400 ล้านบาท


.........................

สัญญาจ้างยังกำหนดการส่งมอบกล้ายางพาราที่มีลักษณะ 1 ฉัตร หรือแตกยอดชั้นเดียว

ซึ่งชาวสวนยางเขารู้ดีว่า “ยางฉัตรเดียว” ยังไม่มีรากแข็งแรงพอที่จะรอด เพราะยางแตกยอดง่าย เพียงแค่ตัดมาจิ้มลงดินไม่นานก็แตกยอด แต่ยังไม่มีราก

ต้องได้ “ยาง 2 ฉัตร” จึงจะมีโอกาสรอดสูงกว่า เนื่องจากรากแข็งแรงกว่า

ยางในโครงการมันไม่มีรากแก้ว ปลูกไปยิ่งนาน 4 - 5 ปี เกษตรกรก็ยิ่งเสียเวลา เสียโอกาส

ต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์พอบางต้น ถึงแม้จะรอดไปได้ แต่มันจะแสดงอาการเอาตอนอายุ 6 - 7 ปี ถึงระยะที่จะกรีดยางได้ มันจะกลายเป็นยางแคระ หรือไม่ให้น้ำยางเอาดื้อ ๆ

เ มื่อถึงเวลานั้น คือในอีก 6 - 7 ปีข้างหน้า คนที่เกี่ยวข้องหลายคนคงจะเกษียณอายุราชการ กินบำนาญ หรือไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนสบายไปแล้ว

ส่วนเกษตรกรที่คิดจะพลิกชีวิตตัวเอง ไถสวนเก่าเพื่อปลูกยางพารา หวังจะขายแพง ๆ จะอยู่ต่อได้อย่างไร ?

มิพักต้องพูดถึงรายได้ของประเทศ ชาติที่คาดการณ์ฝันเฟื่องเอาไว้ว่าจะเพิ่มเท่านั้นเท่านี้ – ก็มีแต่จะสูญไป


..........................

มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้อีกสักเล็กน้อย

ชาวบ้านเขาเล่ากันสนุก ๆ ว่าถัดจากยางพารา กระทรวงเกษตรฯกำลังจะหันบังเหียนไปยังปาล์ม

กำลังคิดโครงการปาล์มพันธุ์ใหม่

เป็นปาล์มพันธุ์ไทย คิดค้นโดยข้าราชการและนักการเมือง จากการศึกษาวิจัยพบว่าให้ผลผลิตดีมาก ๆ สำหรับข้าราชการและนักการเมืองชื่อว่า....

ปาล์มพันธุ์สวา

หรือ...

พันธุ์สวาปา(ล์)ม


..........................

ไม่เพียงแต่โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่เท่านั้นที่อื้อฉาวตั้งแต่ประมูลจนบัดนี้

โครงการสวนยางอื้ออาทรก็มีปัญหาไม่แพ้กัน

และถึงเวลานี้โครงการก็ยังไม่ไปถึงไหน เพราะบริษัทตัวแทนของนักการเมืองและข้าราชการที่กะเข้ามาฮุบงานนี้ ซึ่งมีมูลค่านับหมื่นล้าน ถูกกลุ่มเกษตรกรร้องเรียน กระทั่งต้องส่งสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความ ส่วนเกษตรกรที่เตรียมตัวเข้าร่วมโครงการก็ถูกลอยแพรอเก้อจนบัดนี้

............................

“ผมไม่ทราบ เป็นเรื่องของข้าราชการประจำ”

นี่คือวาทะประจำของนักการเมือง

โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นี้ก็เช่นกัน ถ้าจนตรอกจริง ๆ ก็จะเป็นข้าราชการประจำที่จะต้องถูก “ฆ่าตัดตอน” เพราะกระบวนการเป็นไปอย่างที่เล่ามาโดยลำดับ นักการเมืองสั่ง ข้าราชการประจำตั้งเรื่องและดำเนินการ นักการเมืองได้เงิน ข้าราชการประจำได้เงินและตำแหน่ง

คำถามง่าย ๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะต้องตอบด้วยสามัญสำนึกก็คือ....

ถ้านักการเมืองไม่สั่ง – ข้าราชการประจำจะกล้าหรือ ?

เลิกกันเสียทีเถิดกับบทสรุปประเภท....

คนสั่ง – ไม่โดน

คนเซ็น – โดน


สร้างประเพณีใหม่ขึ้นมาว่า....

เกิดเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้นในยุคใด นักการเมืองที่คุมหน่วยงานนั้นในขณะนั้น – ต้องโดน !

.............................

ถ้ายังยึดคติ “คนสั่ง – ไม่โดน, คนเซ็น – โดน” ก็ให้ระวังกันเอาไว้ทั้งนายทั้งบ่าวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง

โดนยกครอก – ตายยกพรรค

เพราะบาปกรรมจากการโกงเกษตรกรและโกงคนจนตามทันเร็วมากและแรงมาก

ห นึ่งในปัจจัยที่ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งประสบชะตากรรมในระดับถูกกวาดตกแผ่นดินให ญ่ในอดีตมาแล้ว ก็เพราะพฤติกรรมโกงเกษตรกรและโกงคนจนนี่แหละ !

จดหมายจากศ.ระพี สาคริก

เรียน คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่เคารพ


ผมติดตามรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ แทบทุกวันศุกร์ ยกเว้นการเดินทางไปทำงานในพื้นที่

เพราะรายการที่คุณทำร่วมกับคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ มีเนื้อหาสาระที่ให้ประโยชน์ ทั้งในด้านเป็นข่าว และเป็นแง่คิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคม

เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คุณหยิบยกเอาประเด็นคณะรัฐมนตรีจะจัดประชุมสัญจร ที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งเมื่อ 60 ปีกว่ายังเป็นป่า ผมเคยไปเดินเกวียนอยู่ที่นั่น

ประเด็นสำคัญ คุณได้อธิบายชี้แจงว่า ปราสาทพนมรุ้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับกษัตริย์ประกอบพิธี ซึ่งเป็นของสูงทางวัฒนธรรม แม้แต่ที่โบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่จะเข้าไปทำพ ิธีได้

ถ้าคนแต่ก่อนเขาพูดก็คงพูดว่า -- คนธรรมดาเข้าไปทำอะไรระวังเหาจะขึ้นหัว

คุณสนธิบอกว่า ลูกน้องคิดทำให้เจ้านาย เพื่อยกย่อง ถ้าเราไม่ลืมสัจธรรมสิ่งหนึ่งซึ่งมีผู้พูดครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ”ลูกน้องมักทำให้ผู้ใหญ่เสียหาย” ถ้าผู้ใหญ่ลืมตัว ขณะนี้เป็นกันมากจริง ๆ ครับ

เมื่อคุณหยิบยกเอาข้อความที่ว่า เช่น ในโบสถ์วัดพระแก้วมรกต ”เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วครับ” คุณสนธิก็คงจะมีอยู่ในใจแล้วก็ได้

เ มื่อช่วงสงกรานต์ ผมชมข่าวทางโทรทัศน์ กล้องจับองค์พระแก้วมรกต กับจับที่คุณทักษิณ แยกกันเป็นทีละตอน ผมก็สงสัยแล้วว่าอาจเป็นที่เดียวกัน แต่ผมก็ไม่เชื่อสายตาว่าจะมีการอาจเอื้อมขนาดนั้น เพราะคนนี้ได้รับคัดเลือกมาจากประชาชนทั่วประเทศควรจะเป็นคนรู้จักเจียมตน

แต่วันรุ่งขึ้น ผมเห็นภาพสีเต็มหน้าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และภาพสีในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ว่า นายกรัฐมนตรีเข้าไปเป็นประธานประกอบพิธีศาสนาในโบสถ์วัดพระแก้ว แถมยังแต่งตัวแบบลำลอง นั่งบนพรมสีแดง มีเจ้าหน้าที่เข้าไปก้มศีรษะมอบเครื่องกรวดน้ำให้

ผมไม่เคยเห็นภาพอย่างนี้มาก่อนในชีวิต

เห็นแต่องค์พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์แต่งฉลององค์ด้วยเครื่องราชอิสริยยศเท่านั้น

หลายคนเอาภาพนี้มาให้ดูกัน และคิดกันเอาเอง ทำให้ผมนึกในใจว่า ขณะนี้บ้านเมืองเกิดอาเพศขึ้นมาแล้วหรือ ?

อย่างที่โบราณกล่าวความตอนหนึ่ง ไว้ว่า “กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม” ผมดูแล้วใจหดหู่มากครับ


ที่คุณสนธิกล่าวสาปแช่งไว้ตอนใกล้จะปิดรายการ ผมว่ามันยังน้อยไป

คุณสนธิพูดเรื่อง เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ หากจำได้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีเรื่อง ผักสวนครัว รั้วกินได้ มีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการมาขอสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผม ผมพูดไว้ตอนหนึ่งว่า

“ถ้าเอาเรื่องจริง ๆ อาจไม่มีคุกจะใส่พอ”

คนในเกษตร โกรธผมมาก ถึงกับกล่าวว่า ”เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดยังงี้ได้ยังไง ?” ผมไม่อยากโต้เถียง เพราะถือว่าพูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ในใจก็อดคิดไม่ได้ว่า ”ถ้าไม่รักกันจริง ก็ไม่พูดตรง ๆ”

แต่การที่มีคนกลุ่มหนึ่งพูดว่า เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดได้ยังไง ? มันสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของคนในเกษตรส่วนมาก ถือพวกมาตั้งแต่อยู่ในระบบการจัดการศึกษาแล้ว ยิ่งมาโดนนักการเมืองสมัยนี้ด้วย ยิ่งช้ำหนัก

ผมเคยตอบคำถามโทรทัศน์หน้าอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ที่เขาถามว่า อาจารย์รักเกษตรหรือเปล่า ?

ผมตอบ รักสิครับเพราะเป็นของพื้นฐานแผ่นดินไทย แต่ผมไม่ใช่พวกเกษตร ?

ใครจะคิดได้ไม่ได้ก็แล้วแต่ครับ แต่มันเป็นมานานแล้ว จึงทำให้ปัญญามืดบอด ไม่ยังงั้นชีวิตเกษตรกรจะดีกว่านี้มาก


ด้วยความเคารพอย่างสูง


ระพี สาคริก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก