เพื่อชีวิต..ใคร???

วันพุธ, พฤษภาคม 25, 2548

เด็กไทยเจ๋งคว้า 2 รางวัลสุดยอดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ดีเด่นระดับโลก

เ ด็กไทยไม่เป็นรองใคร คว้ารางวัลสุดยอดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ดีเด่นระดับโลก เหนือกว่าเยาวชนอีก 15 ประเทศที่เข้าร่วม จากผลงาน “เครื่องทำไข่เค็มความดัน...อร่อยภายใน 3 วัน ” แถมได้รับรางวัลจัดนิทรรศการยอดเยี่ยมพ่วงมาด้วย เผยประเทศไทยไม่เป็นรองใคร เสียเปรียบเพียงแค่เรื่องภาษาที่ต้องเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

เครื่องทำไข่เค็มความดัน...อร่อยภายใน 3 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประกวดและแสดงสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนนานาชาติ (International Exhibition For Young Inventors/IEYI2005) ที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ให้นักประดิษฐ์ ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากปัจจุบันสู่อนาคต และเป็นการส่งเสริมนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ให้เข้าร่วมเวทีทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์เกิดความคิดสร้างสรรค์ ให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบและสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผลงา นสิ่งประดิษฐ์ของตนเองและผู้อื่น ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17–23 พ.ค. ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีประเทศที่เข้าร่วมประกวดจำนวน 16 ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย อิตาลี ซีเรีย จีน ลิบยา เมอริเธียส ศรีลังกา สิงคโปร์ เม็กซิโก อียิปต์ ญี่ปุ่น อินเดีย ไต้หวัน ฝรั่งเศส ไนจีเรีย และประเทศไทยนั้น

ผลปรากฎว่า คณะนักเรียนระดับชั้น ม.6 จากโรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา ได้แก่ น.ส.พัชรพร สิทธิภู่ประเสริฐ น.ส.ชนิภา วสันต์ศิริกุล และน.ส.ชญานี ชาติปฏิมาพงษ์ สามารถนำผลงาน “เครื่องทำไข่เค็มความดัน...อร่อยภายใน 3 วัน ” คว้ารางวัลสุดยอดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับโลก( WIPO Award Best Young Inventor IEYI 2005) และคณะนักเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เข้าร่วมแข่งขันยังได้รับรางวัลพิเศษ “การจัดนิทรรศการยอดเยี่ยม” (Best Display Stand) มาอีกด้วย

สำหรับ หลักการทำงานของเครื่องทำไข่เค็มความดันนั้น ความดันจะเป็นตัวช่วยให้การแพร่ของสารละลายเกิดมากขึ้น สารละลายจึงแพร่เข้าไปในไข่มากขึ้น ดังนั้นจึงได้ไข่เค็มเร็วยิ่งขึ้น และได้ไข่เค็มที่ใช้ระยะเวลาในการทำเพียง 3 วัน จากเดิมที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการดองไข่ประมาณ 13–15 วัน และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นหากใช้หลักการทำงานดังกล่าวจะเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบ และแรงงานคนในการผลิตอีกด้วย

น.ส.พัชรพร สิทธิภู่ประเสริฐ , น.ส.ชนิภา วสันต์ศิริกุล และน.ส.ชญานี ชาติปฏิมาพงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา
ด้าน น.ส.ชนิภา วสันต์ศิริกุล นักเรียนระดับชั้น ม.6 โรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา หนึ่งในคณะนักเรียนที่คว้ารางวัล กล่าวว่า จากการที่ได้ร่วมงานดังกล่าวตอนแรกรู้สึกกังวล แต่คณะอาจารย์ได้ให้คำปรึกษาและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด จึงเริ่มปรับตัวได้ และสนิทกับเพื่อนๆ น้องๆ และอาจารย์ทำให้การเดินทางในครั้งนี้สนุกแม้จะเหนื่อยก็ตาม อ ย่างไรก็ตามนอกจากจะได้นำสิ่งประดิษฐ์จากประเทศไทยไปนำเสนอในต่างประเทศแล้ว พวกเราทุกคนยังได้รับความรู้ใหม่ๆ จากต่างประเทศ ซึ่งในงานนี้ก็มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษา และได้รู้จักเพื่อนใหม่ ได้รับมิตรภาพที่ดี โดยไม่ได้คิดว่าเป็นการคู่แข่งกัน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาวต่างชาติ แต่รวมทั้งเพื่อนนักเรียนไทยที่เข้าร่วมแข่งขันที่มาจากหลายจังหวัดด้วย ทั้งนี้ตนคิดว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญมากกว่ารางวัลใดๆ

น.ส.ชญานี ชาติปฏิมาพงษ์ นักเรียนระดับชั้น ม.6 โรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา หนึ่งในคณะนักเรียนที่คว้ารางวัล กล่าวว่า ต นคิดว่าผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่นำเข้าประกวดนั้นไม่มีจุดที่เสียเปรียบประเทศอื ่นๆ หากจะมีเพียงเรื่องเดียวที่ประเทศไทย คือ เรื่องของภาษาที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน ซึ่งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นอาจจะทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันได้ สำหรับการแ ข่งขันครั้งนี้คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของแต่ละประเทศมากกว่าเป็นการแข่งขัน เพราะตัวแทนจากประเทศต่างๆ นั้นต่างสนุกสนานกับการได้แลกเปลี่ยนความรู้ และทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนได้รับจากการประกวดครั้งนี้ คือการได้เห็นพัฒนาการของแต่ละประเทศ ที่ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนอย่างจริงจัง ตลอดจนการได้แลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกทัศน์และได้รู้จักเพื่อนมากยิ่งขึ้น

น.ส.พัชรพร สิทธิภู่ประเสริฐ นักเรียนระดับชั้น ม.6 โรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา หนึ่งในคณะนักเรียนที่คว้ารางวัล กล่าวว่า ในอนาคตสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลนั้นจะต้องมีการพัฒนาต่อในเรื่องของการท ำตัวท่ออัดความดันให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งอยากจะวิจัยต่อว่าในหลักของการใช้ความดันในการช่วยให้การแพร่ของสารล ะลายเกิดมากขึ้นนั้น จะสามารถนำความรู้นี้ไปใช้กับการทำผลผลิตทางการเกษตรอย่างอื่นหรือไม่ และที่สำคัญ คือตนอยากจะลดต้นทุนในการผลิตไข่เค็มให้น้อยลงกว่าเดิม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการผลิต

ทั้งนี้ คณะนักเรียนและครูที่ปรึกษาได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยเที่ยวบินที่ ทีจี 418 เวลา 21.00 น.ของคืนวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา สำหรับการจัดงานในปีหน้านั้น ประเทศอินเดียได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดงานต่อไป
........โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2548 01:03 น.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก