เพื่อชีวิต..ใคร???

วันพุธ, มิถุนายน 29, 2548

กระบวนทัพสู้สงครามใต้ : กองพลใหม่-ความคิดเก่า ! by สุรชาติ บำรุงสุข


"การรับสมัครทหารใหม่จะต้องเริ่มจากสองด้าน ด้านหนึ่ง คำนึงถึงระดับความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและจำนวนประชากร อีกด้านหนึ่ง คำนึงถึงสภาพของกองทัพในเวลานั้น และขอบเขตที่เป็นไปได้ของความสิ้นเปลืองของกองทัพในการยุทธ์ทั้งกระบวน"

ประธาน เหมา เจ๋อ ตุง

ธันวาคม 1936



เ ป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า ในช่วงปลายรัฐบาลที่ผ่านมามีดำริที่จะให้มีการจัดตั้งกองพลใหม่ขึ้นในภาคใต้ ซึ่งดูไปแล้วก็จะทำให้กองทัพภาคที่ 4 ในอนาคตมีอัตรากำลังถึงสองกองพลทหารราบ แต่เมื่อเรื่องของกองพลใหม่ได้ผ่านจากคณะรัฐมนตรีไปสู่การปฏิบัติเพื่อที่จั ดตั้งกองพลนี้ขึ้นจริงๆ นั้น ก็ได้เกิดความสับสนอยู่พอสมควร โดยเฉพาะชื่อของกองพลกลับดูแปลกๆ คือ กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรที่ 15

ถ ้ามองในทางที่ดี รัฐบาลอาจจะพยายามสื่อว่า กองพลใหม่นี้เป็นกองพลพัฒนา ไม่ใช่กองพลดำเนินกลยุทธ์ของทหารราบในแบบปกติ แต่คนที่คุ้นเคยกับบทบาทของกองทัพกับงานพัฒนา ก็เกิดข้อสงสัยอยู่บ้างว่า แล้วในพื้นที่ภาคใต้ ไม่มีกองพลพัฒนาอยู่เลยหรือ ?

คำตอบซึ่งไม่ใช่ข ้อมูลที่เป็นความลับทางราชการทหาร บอกแก่เราได้ทันทีว่า ในพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 4 นั้น มีกองพลพัฒนาอยู่แล้ว และว่าที่จริงเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ความลับอีกเช่นกัน หากจะต้องถามต่อว่า แล้วถ้าเช่นนั้น กองพลพัฒนาเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่กับกองพลพัฒนาใหม่จะมีภารกิจในการปฏิบัติง านในพื้นที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ก็จะเป็นปัญหาอีกประการที่จะต้องตอบ

แ ต่ถ้าจะตอบว่า กองพลพัฒนาใหม่จะทำงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น ส่วนกองพลพัฒนาเดิมจะทำภารกิจแบบเดียวกันในพื้นที่นอกสามจังหวัดดังกล่าว คำตอบเช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่าพื้นที่ภาคใต้ของกองทัพภาคที่ 4 ต่อไปจะมี 1 กองพลทหารราบและ 2 กองพลทหารพัฒนา

ถ้ากองทัพไทยคิดจะจัดโครงสร้างกำลังรบในลักษณะเช่นว่านี้ ก็คงเป็นเรื่องที่น่าใคร่ครวญเป็นอย่างยิ่ง !



น อกจากนี้ ชื่อของกองพลยังระบุอีกว่า กองพลใหม่จะทำหน้าที่ในการพิทักษ์ทรัพยากร ซึ่งต้องถือว่าผู้ที่ตั้งชื่อกองพลดังกล่าว สามารถทำให้กองทัพไทยมีความแปลกพิเศษเป็นอย่างยิ่ง คือ นอกจากจะมีกองพลพัฒนาแล้ว ก็ยังมีกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรอีกด้วย ถ้าคิดให้สอดคล้องกับยุคสมัยก็คงจะต้องเรียกกองพลที่มีชื่อเช่นนี้ว่า "กองพลเอ็นจีโอ" เพราะชื่อกองพลได้สื่อถึงภารกิจพิเศษของทหารว่า นอกจากจะต้องทำงานพัฒนาแล้วก็จะต้องมีบทบาทในการพิทักษ์ทรัพยากรอีกด้วย

แ ต่เราจะคิดอย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวได้กลายเป็นประเด็นที่ยากต่อการแก้ไข เพราะได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีออกมาแล้ว และจะต้องถือว่า ถ้ามองจากชื่อของกองพลแล้ว คงจะต้องถือว่ากองทัพไทยมีคุณลักษณะพิเศษ และหากเปรียบในระบบทหารสากล กองพลนี้จะมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Development and Resources Protection Division" ซึ่งแม้แต่กองทัพในประเทศสังคมนิยม ที่มีกองพลพัฒนา ก็ยังไม่ก้าวไปไกลขนาดที่กองทัพไทยมี

ในทางกลับกัน ก็มีบางคนคิดไปอีกทางว่า เมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ใช้โอกาสจากการตั้งที่เรื่องผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยเปลี่ยนกองพลนี้ให้เป็นกองพลทหารราบมาตรฐาน และอาจจะทำให้หนักขึ้นด้วยการบรรจุรถรบเข้าไปด้วย อีกทั้งยังหวังเป็นอย่างยิ่งอีกด้วยว่า การผ่านมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ จะทำให้กระทรวงกลาโหม (ความหมายในระดับกระทรวง) และ/หรือกองทัพบก (ความหมายในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรง) สามารถบรรจุกำลังพลใหม่ได้หนึ่งกองพล หรือพูดในภาษาราชการ กองทัพบกสามารถเปิดอัตราใหม่ได้หนึ่งกองพล !

ในกรณีของความหวังที่จะ มีอัตราใหม่ เป็นประเด็นที่น่าคิดอย่างยิ่ง เพราะความรับรู้โดยทั่วไปคือ รัฐบาลไม่สนับสนุนให้มีการขยายอัตราบุคลากรภาครัฐ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลไม่สนับสนุนให้มีการตั้งหน่วยราชการใหม่ และเปิดอัตราใหม่เพิ่มเติมแต่อย่างใด แต่หากจะเปิดหน่วยใหม่ ก็ให้ใช้อัตราเดิมที่มีอยู่ ในความหมายคือเกลี่ยอัตรา ซึ่งน่าจะเป็นหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้มากที่สุด

แต่ดูเหมือนจะไม่มี ใครอยากพูดเรื่องเช่นนี้ เพราะฝันหวานในเรื่องของอัตราใหม่ อาจต้องเป็น "ฝันขม" ไปทันที ยิ่งถ้าจะต้องเกลี่ยอัตราแล้ว ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามากขึ้น เพราะจะพัวพันอัตราทั้งในส่วนของกองทัพบกเอง หรืออาจจะพันไปถึงระดับกระทรวงกลาโหมด้วย และถ้าต้องเกลี่ย ใครเล่าจะเป็นคนชี้ขาดว่าใครจะต้องอยู่กับกองพลใหม่ แม้ว่าวันนี้เราจะมีนายทหารที่เสียสละส่วนหนึ่ง ที่อาสาไปอยู่กองพลนี้แล้ว แต่กำลังพลส่วนใหญ่ที่เป็นพื้นฐาน จะเอามาจากไหน

ความเป็นจริงก็คือ มีแต่ข้าราชการอาสาสมัครออกจากพื้นที่สามจังหวัด และหาข้าราชการอาสาสมัครไปสู่พื้นที่นี้ได้น้อยลง ในสถานการณ์เช่นนี้กำลังพลทหารจึงดูจะเป็นส่วนที่ต้องเสียสละอย่างมากกับการ ต้องไปทำงานสนาม แม้ทุกคนจะรับรู้ว่าอาชีพทหารคืออาชีพของการเสี่ยงชีวิตในการสงครามก็ตาม !

ป ัญหาที่กล่าวมาอย่างหยาบๆ ในข้างต้น ชี้ให้เห็นอย่างมากว่า การจัดตั้งกองพลใหม่เป็นสิ่งที่จะต้องคิดให้รอบคอบ จะใช้การคิดในลักษณะแบบง่ายๆ ว่า ในที่สุดแล้ว รัฐบาลก็จะต้องให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่ทหาร ก็ดูจะเป็นการทำลายคุณค่าของกระบวนการคิดในทางยุทธการเป็นอย่างยิ่ง เพราะดังจะเห็นได้ว่า แม้ในยุคสงครามเย็นที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่ทางทหารจากการยึดค รองกัมพูชาของกองทัพเวียดนามนั้น แม้จะมีผู้เสนอให้ขยายกำลังพลด้วยการจัดตั้งกองพลทหารราบใหม่เพิ่มขึ้น ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่าย

การจัดตั้งกองพลใหม่นั้น แม้ปัญหาในเบื้องต้นจะเป็นเรื่องของงบประมาณ แต่ปัญหาที่เป็นจริงและบางทีอาจจะใหญ่กว่าเรื่องของงบประมาณก็คือ คำถามในทางยุทธการ การจัดตั้งกองพลใหม่จะสนองตอบต่อประโยชน์ทางยุทธการอย่างไร ? การมีกองพลนี้จะต้องตอบได้ว่า กองพลดังกล่าวได้ช่วยแก้ปัญหาของงานยุทธการในพื้นที่ที่เป็นปัญหาได้ เพราะนักการทหารในโลกสมัยใหม่จะคิดด้วยคตินิยมของการสงครามแบบเก่าที่เชื่อว ่า "พระเจ้าอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายที่มีกองพันมากกว่า" (คำกล่าว Marshal Henri de la Tour D" Auvergne Turenne)

กล่าวคือการมีกำลังรบที่เพิ่ มมากขึ้นของฝ่ายเราโดยไม่มีแนวทางการยุทธ์ในสนา มที่ชัดเจนอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ค่าในทางยุทธการได้โดยง่าย

อีกทั้ งคำถามที่สำคัญก็คือ กองพลใหม่จะสนองต่อยุทธศาสตร์ของไทยอย่างไรในสถานการณ์ที่ต้องต่อสู้กับการก ่อความไม่สงบของฝ่ายต่อต้านอำนาจรัฐ ยิ่งถ้าบอกว่าสงครามในภาคใต้เป็นลักษณะของ "สงครามก่อความไม่สงบ" และสิ่งที่รัฐต้องดำเนินการก็คือ "การต่อต้านการก่อความไม่สงบ" (COIN) แล้ว การวางกรอบคิดทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธการ ที่หวังว่ากำลังที่มากกว่าจะ "สยบ" ความรุนแรงจากการก่อความไม่สงบได้ ก็ยิ่งเป็นแนวคิดที่ต้องทบทวนเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีประวัติศาสตร์ทหารของสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบเล่มใด ที่บอกแก่เราว่า รัฐสามารถชนะสงครามชนิดนี้ได้ด้วยการมี และใช้กำลังที่มากกว่า

ในทางตรงข้ามประวัติศาสตร์กลับเตือนให้ผู้สนใ จทั้งหลายต้องสำเหนียกไว้เสมอว ่า การมีและใช้กำลังที่มากกว่าของรัฐ อาจจะกลายเป็น "กับดัก" ของฝ่ายต่อต้านที่ล่อให้รัฐเข้าไปสู่กระบวนทัศน์ของสงครามตามแบบ ที่วางน้ำหนักของชัยชนะไว้กับ "ชัยชนะทางทหาร" ที่มุ่งหวังการทำลายกองทัพข้าศึกเป็นจุดหมายพื้นฐานของการสงคราม เพราะด้วยการที่รัฐมีกำลังมากกว่าอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างง่ายๆ ว่า ความเหนือกว่าในทางทหารในสงครามตามแบบเป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐสามารถเอาชนะสงค รามการก่อความไม่สงบได้ (หรืออาจจะเติมคำคุณศัพท์ ขยายความต่ออีกด้วยว่า "ได้โดยง่าย") ซึ่งไม่จริง !

แน่นอนว่าแม้เราจะแก้ไขมติ ครม. ที่ให้จัดตั้งกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรเช่นที่กล่าวแล้วในข้างต้นกันไม่ ได้ แต่ถ้าจะต้อง "ตั้งหลักทางความคิด" แล้ว ก็คงจะต้องยอมรับว่าการถกแถลงในประเด็นนี้มีความจำเป็นทั้งในทางยุทธศาสตร์แ ละยุทธการอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง

ในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน จะต้องยอมรับว่า การจัดและวางกำลังทหารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นทั้งหัวข้อทางยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อสถานะของประเทศไทยในอนาคตเป็น อย่างยิ่ง จะคิดเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่น หรือเอาไปอิงไว้กับผลประโยชน์ส่วนบุคคลไม่ได้ เพราะสถานะการเป็นผู้ครอบครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐไทย กำลังถูกท้าทายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประเทศได้ในอนาคต

ถ้าทดลองคิดกัน ใหม่ กองพลใหม่ของกองทัพภาคที่ 4 ควรมีลักษณะเป็น "กองพลผสม" และบรรจุกรมต่างๆ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของเหล่าทัพในแต่ละพื้นที่ ซึ่งกองพลควรจะประกอบกำลังมากกว่ากำลังพลจากกองทัพบกในแบบปกติ

โดยจะมีกำลังจากเหล่าทัพอื่นเข้ามาร่วมอยู่ด้วย และใช้เส้นแบ่งจังหวัดเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการ (AO)



กองพลผสมประกอบด้วย

- กรมปัตตานี (กำลังพลหลักมาจากกองทัพบก และ ผบ.กรม เป็นนายทหารจากกองทัพบก)

- กรมยะลา (กำลังพลหลักมาจากกองทัพบก และ ผบ. กรมเป็นนายทหารจากกองทัพบก)

- กรมนราธิวาส (กำลังพลหลักมาจากนาวิกโยธิน และ ผบ. กรม เป็นนายทหารนาวิกโยธิน)

- กรมเรือชายฝั่ง กองพลนี้จะมีกำลังทางเรือเป็นหน่วยเรือชายฝั่ง เพื่อใช้ในการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจแนวชายฝั่งทะเล โดยมีสถานีเรือหลักอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส และมีสถานีเรือย่อยอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

- ชุดติดต่อทางอากาศ กองพลนี้มีกำลังทางอากาศในลักษณะของชุดติดต่อและประสานงานทางอากาศ โดยมีกำลังหลักอยู่ที่สนามบินสงขลา และวางกำลังส่วนหน้าไว้ที่นราธิวาส

- กำลังตำรวจ โดยให้กำลังตำรวจที่มีลักษณะของกองกำลังกึ่งทหาร ได้แก่ ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) ขึ้นทางยุทธการกับกองพลผสมนี้

- กำลังอาสาสมัครทหารพราน กองกำลังกึ่งทหารของฝ่ายทหารเอง ซึ่งได้แก่ กำลังทหารพราน ควรจะต้องนำมาใช้ในพื้นที่มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือกำลังทหารปกติในภารกิจต่างๆ

กองบัญชาการของกองพลผสมนี ้จะต้องทำให้เป็น "กองบัญชาการรวม" (Unified Command) ของงานยุทธการในพื้นที่สามจังหวัดให้ได้ และในขณะเดียวกันก็ให้กรมจังหวัดที่อยู่ในแต่ละจังหวัด มีฐานะเป็นกองบัญชาการรวมของงานทางยุทธการในระดับจังหวัดด้วย

โดยสภา พเช่นนี้ก็จะทำให้ผู้บังคับการกรมจังหวัดกลายเป็นฝ่ายอำนวยการด้านยุท ธการ (สธ.3) ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด อันจะทำให้ผู้ว่า CEO ในปัจจุบัน มีฝ่ายอำนวยการด้านความมั่นคงที่เป็นทหาร และเป็นผู้ควบคุมงานยุทธการที่เกิดขึ้นในพื้นที่แต่ละจังหวัดจริง มิฉะนั้นแล้ว ผู้ว่า CEO จะเป็นผู้ที่ขาดมิติด้านยุทธการเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าปัจจุบันจะแก้ปัญหาด้วยการให้มีการประชุมระหว่างฝ่ายจังหวัดและฝ่ายทห ารที่อยู่ในพื้นที่ก็ตาม

แต่หากคิดว่าปัญหาการก่อความไม่สงบดังกล่าว เป็นปัญหาที่จะต้องแก้อย่างจริงจ ัง การออกแบบโครงสร้างของกำลังและการจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายทหารกับทางจังห วัดเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมาก มิฉะนั้นแล้วกองพลใหม่จะกลายเป็น "เป็ดง่อย" ที่ทำอะไรไม่ได้ทั้งในทางยุทธศาสตร์และยุทธการ

ที่สำคัญก ็คือ ถ้าไม่คิดอะไรกันให้ชัดเจนแล้ว กองพลใหม่จะเป็นเสมือน "ถูกลอยแพ" ทั้งที่นายทหารหลายคนที่มีฝีมือ ตั้งแต่ผู้บัญชาการกองพลคือ พล.ต.สำเร็จ ศรีหร่าย และอีกหลายคนได้เสียสละลงไปทำงานในพื้นที่แล้ว

ปัญหาคือพวกเราที่อยู่ส่วนหลังจะทำอย่างไรให้พวกเขาไม่เป็น "เป็ดง่อย" ในสนามรบที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ !

http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0416240648&srcday=2005/06/24&search=no

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก